วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อำนาจอธิปไตย


อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้สำหรับราชอาณาจักรไทย ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชนอำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
แนวคิดอำนาจอธิปไตย เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 100) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้

1.ความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐ
2.การทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศมานาน
3.ความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
4.การแบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐ ๆ หนึ่ง จะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่ในที่นี่การแบ่งแยกดังกล่าวมิได้หมายถึง การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยให้องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจ
นับได้ว่า ฌอง โบแดง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่าอำนาจอธิปไตย ในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือในความหมายที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดหรือสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน


"ฮ่องกง" เป็นภาษากวางตุ้ง ซึ่งมาจากภาษาจีนกลาง ว่า "เซียงก่าง" ความหมายก็ไม่เหมือนใคร หมายความว่า "ท่าเรือหอม" มีความเป็นมา สืบเนื่องมาแต่ครั้งที่กวางตุ้ง เป็นแหล่งปลูกไม้หอมชนิดหนึ่ง ส่งขายเป็นสินค้าออก โดยที่ต้องมาขนถ่ายสินค้ากัน ที่ท่าเรือน้ำลึกตอนใต้สุดของแผ่นดินจีน

เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีเรือของกองทัพอังกฤษ นำโดยกัปตัน Charles Elliot (ชาร์ลส์ อีเลียต) แล่นผ่านน่านน้ำระหว่าง แหลมเกาลูนและเกาะแห่งหนึ่งที่ร่ำลือกันว่า เป็นที่หลบลมพายุของพวกโจรสลัด กัปตันอีเลียต เกิดได้กลิ่นหอมชนิดหนึ่ง จึงจอดเรือและขึ้นฝั่ง ส่งล่ามลงไปสอบถาม ได้ความว่าเป็นท่าเรือหอม ใช้ขนถ่ายไม้หอม กัปตันรับทราบด้วยความประทับใจ
เมื่อกัปตันอีเลียตเดินทางกลับสู่อังกฤษและได้รับการแต่งตั้งให้ไปประจำการฝ่ายการพาณิชย์ของอังกฤษในภาคพื้นเอเซีย ซึ่งขณะนั้นเอง ประเทศอังกฤษซึ่งปกครองโดยพระนางวิกตอเรีย กำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้า หรือฝิ่นนั่นเอง และประจวบเหมาะพอดีกับที่ฝ่ายอังกฤษและจีน กำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ. 1839 กัปตันอีเลียตจึงตัดสินใจยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือกลิ่นหอม และประกาศให้ดินแดนแถบนั้นเป็นของอังกฤษ ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1841
ว่ากันว่ามีเหตุการณ์ที่น่าขัน และสร้างความขายหน้าให้กับพระราชินีวิคตอเรียยิ่งนัก ที่กองทหารอังกฤษเข้ายึดเกาะที่มีแต่หินโสโครก หาประโยชน์ไม่ได้เลย กัปตันอีเลียตจึงถูกลงโทษด้วยการส่งไปเป็นกงสุลอังกฤษประจำรัฐเท็กซัสแทน
ตั้งแต่นั้น จีนและอังกฤษกระทบกระทั่งกันเรื่องการค้าฝิ่นเรื่อยมา เกิดสงครามฝิ่นถึงสองครั้ง หลังสงครามฝิ่นครั้งที่สองนี่เอง อังกฤษได้บีบบังคับให้จีนทำสัญญา โดยให้อังกฤษเช่าฮ่องกงทั้งหมด เป็นเวลา 99 ปี โดยกำหนดวันหมดสัญญาไว้วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ด้วยภูมิประเทศของฮ่องกงเอง ที่เป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก

ผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาประจำยังเกาะฮ่องกง ท่านลอร์ด Palmerston เคยขนานนามเกาะแห่งนี้ไว้ว่า "หินไร้ค่า" แต่อังกฤษได้ช่วยวางรากฐานการศึกษา การปกครอง และผังเมืองให้ฮ่องกงเป็นอย่างดี เพียง ชั่วพริบตาเดียว ฮ่องกงได้กลับกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และยังเป็นประตูเปิดสู่ประเทศจีน ปลายศตวรรษที่ 19 ดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูนก็ตกเป็นอาณานิคม และอังกฤษยังได้สิทธิเช่าเขตนิวเทอริทอรี่ส์ เป็นเวลา 99 ปี ซึ่งอังกฤษได้ทำพิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 ไปเรียบร้อย ทั้งนี้เคยมีการเจรจาระหว่างอังกฤษโดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ นายเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำฝ่ายจีน เพื่อเจรจาขอเช่าเกาะฮ่องกงต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 26 กันยายน ผู้นำทั้งสองจึงเปิดเจรจาอีกครั้งและลงนามในสัญญา โดยมีสาระสำคัญว่า อังกฤษจะยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน และจีนได้ให้สัญญาว่าจะยอมให้ฮ่องกง อยู่ในฐานะ "เขตปกครองตนเอง" ภายใน 50 ปี
ปัจจุบันจีนได้มอบหมายให้ นายตงจิ้นหวา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฮ่องกง และจีนได้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้รัฐบาลปักกิ่งรับผิดชอบด้านกิจการต่างประเทศ การทหาร และความมั่งคงเท่านั้น ส่วนการบริหารยังคงให้อิสระแก่ชาวฮ่องกงเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตามด้วยทำเลอันเหมาะสม เกาะฮ่องกงก็ยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในฐานะเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ ฐานที่ตั้งสำคัญของผู้ผลิต และศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


รูปแบบการปกครอง
ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย ‘หนึ่งประเทศสองระบบ’ ในการปกครองฮ่องกง ตามกฎหมายพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองและบริหารฮ่องกง ที่สภาประชาชนจีนได้อนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยให้สิทธิฮ่องกงในการปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี รัฐบาลจีนได้กำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีต่อไปได้อีกเป็นเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจีนได้รับฮ่องกงกลับคืนจากรัฐบาลอังกฤษ

การปกครองท้องถิ่น เมืองพัทยา

การปกครองท้องถิ่น เมืองพัทยา


เมืองพัทยา
พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา จึงทำให้ประชากรต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ผังเมือง อาชญากรรม และอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารเมืองมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว รัฐบาลจึงกำหนดให้พัทยามีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา และมีตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 กำหนดให้การบริการเมืองพัทยาประกอบด้วย สภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา
โครงสร้างของเมืองพัทยา
เมืองพัทยาแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ฝ่าย
1. สภาเมืองพัทยา ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยา จำนวน 24 คน มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สภาเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งควบคุม และตรวจสอบการทำงานของนายกเมืองพัทยา
2. นายกเมืองพัทยา ( ฝ่ายบริหาร ) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระไม่ได้ นายกเมืองพัทยามีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของพัทยา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างเมืองพัทยา

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 28 มิถุนายน 2475 พ้นตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 ด้วยการทำรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
2. พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 พ้นตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยรัฐบาลยุบสภา
3.จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 16 ธันวาคม 2481 พ้นตำแหน่งครั้งสุดท้ายวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยการทำรัฐประหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
4.พันตรีควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออก
5.นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 เนื่องจากลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะสมมาแทน
6.หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 17 กันยายน 2488 และอีกครั้งในต้นปี 2519 ก่อนพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการทำรัฐประหาร นำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
7.นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยการลาออก
8.พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการทำรัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ
9.นายพจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร และพ้นตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็น ครม.ชุดที่ 27
10.จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 1 มกราคม 2501 และอีกครั้งในปลายปี 2506 ก่อนจะพ้นตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หลังการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
11.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 เพราะถึงแก่อสัญกรรม
12.นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ้นตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญปี 2517
13.พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 เพราะยุบสภา
14.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 ตุลาคม 2519 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
15.พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 พ้นตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยการลาออกกลางสภา
16.พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 พ้นตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
17.พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.ทำรัฐประหาร
18.นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ อีกครั้ง ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 10 มิถุนายน 2535 - 23 กันยายน 2535)
19.พลเอกสุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 พ้นตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
20.นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 และอีกครั้งในปี 2540 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
21.นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 พ้นตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 เมื่อยุบสภา
22.พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยการลาออก
23.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 พ้นตำแหน่งวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังถูกรัฐประหาร
24.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม 2549 พ้นตำแหน่งวันที่ 29 มกราคม 2551 เมื่อปรากฎผลการเลือกตั้งทั่วไป
25.นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 กันยายน 2551 จากคำวินิจฉัยว่าไม่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ
26.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 2 ธันวาคม 2551 จากคำวินิจฉัยยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญ (ถูกตัดสิทธิ์และไม่มีคุณสมบัติในฐานะกรรมการบริหารพรรค)
27.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 พ้นตำแหน่ง 5 สิงหาคม 2554 เมื่อยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่
28.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม 2554

รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส

รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส
เทศบาล (Commune) คอมมูนหรือเทศบาล ถือได้ว่าเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับรากฐานที่มีความ
เก่าแก่และมีขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้นถึง 36,580 แห่ง (และอีก 183 แห่งในจังหวัดโพ้นทะเล) มีจำนวนสมาชิกสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งถึงประมาณ 550,000คน เทศบาลโดยส่วนใหญ่ถึงกว่าร้อยละ 90 จะมีลักษณะเป็นเมืองขนาดเล็กและอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งมีจำนวนประชากรต่ำกว่า 1,500 คน4การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบนี้ถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่เก่าแก่และฝังรากลึกมาอย่างช้านาน อีกทั้งยังสะท้อนถึงลักษณะทางประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนอย่างแท้จริง คอมมูนหรือเทศบาลในสมัยปัจจุบันมีพื้นฐานทางพัฒนาการมาจากเขตทางศาสนา (Parishes) ตั้งแต่ศตวรรษที่10 - 12 และต่อมาในสมัยหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ได้มีการจัดเขตพื้นที่ใหม่ แต่โดยรวมก็ยังคงอยู่บนฐานของเขตทางศาสนาเดิม สถานะของคอมมูนในฐานะที่เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1884 อันเป็นผลจากการออกกฎหมายพระราชบัญญัติเทศบาล (MunicipalGovernment Act 1884) ครอบคลุมชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศตั้งแต่เมืองขนาดใหญ่ไปจนถึงหมู่บ้านเล็กๆ ในชนบทโดยทั่วไป แม้เทศบาลหรือคอมมูนจะถูกมองว่าเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กและขาดศักยภาทางการบริหาร แต่ในอีกด้านหนึ่งประชาชนชาวฝรั่งเศสกลับมีความผูกพันและระบุตนเอง (identify) เข้ากับคอมมูนที่ตนอยู่อาศัยอย่างแนบแน่น เนื่องจากคอมมูนนั้นเปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์ของการแสดงตนเองในฐานะพลเมือง (symbol of civic identification)
ด้วยจำนวนที่มากและความหลากหลายที่มีอยู่ ทำให้เป็นการยากที่จะอธิบายถึงลักษณะร่วมของหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับนี้ อย่างไรก็ดี เราอาจจัดแบ่งคอมมูนหรือเทศบาลได้ในสองลักษณะ ดังต่อไปนี้

เทศบาลขนาดเล็กและขนาดกลาง (ประชากรน้อยกว่า 20,000 คน)เทศบาลขนาดเล็กและกลางเหล่านี้จะมีลักษณะทางชุมชนเป็นเมืองขนาดเล็กหรือเป็นหมู่บ้านตามชนบท ด้วยข้อจำกัดทางขนาดและทรัพยากร เทศบาลเล็กๆ เหล่านี้จึงต้องพึ่งพาและรับการปกป้องจากองค์กรทางปกครองในระดับที่สูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัด นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความร่วมมือกันในระหว่างเทศบาลผ่านองค์กรความร่วมมือหรือวิสาหกิจรวมเพื่อจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ ที่เทศบาลแห่งหนึ่งแห่งใดจัดทำด้วยตนเองไม่ได้
เทศบาลขนาดใหญ่เทศบาลเหลา่ นี้จะอยู่ในชุมชนที่มีสภาพของความเป็นเมืองสูง มีศักยภาพและทรัพยากรทั้งในทางการเงินและบุคลากร ไม่ต้องพึ่งพาองค์กรทางปกครองอื่นๆ ดังเช่นเทศบาลขนาดเล็ก จึงสามารถจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ ได้อย่างหลากหลายจังหวัด (Département)จังหวัดมิใช่เขตการปกครองตามธรรมชาติดังเช่นกรณีของเทศบาล หากแต่เป็นเขตการปกครองที่ถูกกำหนดขึ้นภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยความมุ่งหวังให้เป็นองค์กรระหว่างกลาง(intermediate) ที่เชื่อมโยงการปกครองในระดับท้องถิ่นเข้ากับรัฐส่วนกลาง กลายเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคที่ดำรงอยู่คู่กับระบบการเมืองการปกครองขอฝรั่งเศสมาช้านาน โดยอยู่ภายใต้การบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแต่งตั้งจากส่วนกลาง และศาลาว่าการจังหวัดก็เปรียบเสมือนกับเป็นศูนย์รวมหรือจุดบรรจบของผลประโยชน์ในระดับท้องถิ่นที่นักการเมืองท้องถิ่น ชนชั้นนำท้องถิ่น และข้าราชการส่วนกลางจะเข้ามานั่งเจรจาต่อรองและทำความตกลงทั้งทางการเมืองและการบริหารในระดับท้องถิ่นต่อมาภายหลังกระบวนการกระจายอำนาจในต้นทศวรรษที่ 1980 พื้นที่จังหวัดก็ได้มีสถานะใหม่เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ซ้อนทับอยู่กับการปกครองส่วนภูมิภาค เมื่อรัฐบาลได้มีการโอนอำนาจทางการบริหารกิจการสาธารณะต่างๆ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสภาจังหวัด(conseil générlal) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และบทบาทในฐานะผู้บริหารของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ถูกแทนที่โดยประธานสภาจังหวัด (président du conseil générlal) โดยมีงบประมาณ,อำนาจหน้าที่, บุคลากร และทรัพย์สินเป็นของตนเองแยกออกจากจังหวัดในฐานะการบริหาร ราชการส่วนภูมิภาค
ปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 96 แห่ง (และอีก 4 แห่งในจังหวัดโพ้นทะเล) มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความสนับสนุนการทำงานของหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล จัดทำบริการสาธารณะที่เกินขีดความสามารถของเทศบาลหรือกิจการที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมถึงบทบาทในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยการปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรความร่วมมือเพื่อจัดทบริการต่างๆภาค (Région)การจัดตั้งเขตการปกครองในรูปของภาคเป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาลกลางนับแต่ปลายยุคทศวรรษที่ 1950 ซึ่งต้องการจัดตั้งเขตการบริหารขนาดใหญ่เพื่อกระจายภารกิจและอำนาจหน้าที่ซึ่งรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถรองรับนโยบายด้านการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่เกินกว่าจังหวัดที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ในปี ค.ศ.1956 รัฐบาลจึงได้ ริเริ่มโดยการจัดให้มี "เขตจัดตั้งในระดับภาค" (programme regions) จำนวน 22 แห่งขึ้น และเริ่มมีความชัดเจนในยุคทศวรรษที่ 1960 เมื่อรัฐบาลต้องการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับ ภูมิภาค จึงได้มีการรวบเอาจังหวัดต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นผู้ว่าราชการภาคเพื่อคอยประสานงานหน่วยราชการต่างๆ ในระดับภาค รวมถึงเป็นผู้ดูแลคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภาค (CODERs) ชุดต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกพิเศษที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อผลด้านการพัฒนาความพยายามจัดตั้งภาคให้เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1969 เมื่อนายพลเดอโกลล์ (le général Charles de Gaulle) ได้ขอให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ในระดับภาคแต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปีค.ศ.1972 จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติลงวันที่ 5 กรกฎาคม จัดตั้งภาคขึ้นมาโดยไม่ได้มีสถานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นแต่ให้มีสถานะเป็น "องค์กรมหาชนอิสระ" (établissement public)ทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในเขตภาค5อย่างไรก็ดี ความพยายามจัดตั้งภาคให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงมีอยู่ต่อ โดยเหตุผลของความจำเป็นปรากฏอยู่ในรายงานที่มีความสำคัญยิ่งของคณะกรรมการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในภาครัฐ (the "Guichard Report") ซึ่งได้กล่าวว่า “รัฐบาลกลางได้ดูดซับเอากิจกรรมทางการบริหารเกือบทั้งหมดเข้ามาอยู่ในมือของตนและเป็นการเข้าไปควบคุมดูแลแม้แต่เรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย หน่วยงานราชการส่วนกลางก็เกิดการขยายตัวทั้งในแง่จำนวนองคก์ รและขอบขา่ ยภารกจิ ของตน แตท่ งั้ นี้ ก็เปน็ ไปอยา่ งกระจดั กระจายไร้ทิศทาง จึงนำไปสู่สภาพปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจแต่ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (centralisation without thebenefits of unity) การบริหารกิจการสาธารณะในระดับท้องถิ่นจึงมิได้เป็นเรื่องของชุมชนท้องถิ่นที่
จะจัดการกันเอง กลับถูกส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงทั้งในด้านงบประมาณและการกำกับดูแลในรูปแบบต่างๆ”6 ดังนั้น กระบวนการกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นในต้นทศวรรษที่ 1980 ภาคในฐานะหน่วยการปกครองท้องถิ่นจึงได้เกิดขึ้น โดยมีสภาภาค (conseil régional) ที่มีสมาชิกมาจากการ
เลือกตั้งทำหน้าที่ฝ่ายสภา มีประธานสภาภาค (président du conseil régional) เป็นผู้นำฝ่ายบริหารและมีคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (comité économique et social) ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ปรึกษา

ปัจจุบันภาคมีจำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง (และอีก 4 แห่งในจังหวัดโพ้นทะเล) มีลักษณะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นในโครงสร้างส่วนบน (upper tier) เพื่อทำหน้าที่ด้านยุทธศาสตร์และการวางแผนในระดับท้องถิ่น และถูกจัดวางบทบาทในฐานะองค์กรพี่เลี้ยงเพื่อทำหน้าที่วางกรอบ
สนับสนุน และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ ให้กับจังหวัดและเทศบาลซึ่งถูกจัดวางให้เป็นองค์กรในระดับปฏิบัติการการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนอกเหนือจากองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งสามรูปแบบข้างต้นแล้ว ในฝรั่งเศสยังได้มีการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อทำหน้าที่ในเขตเมืองใหญ่ (les grandes villes) ที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นและมีสภาพความเป็นเมืองสูง7 ซึ่งประกอบไปด้วย การปกครองท้องถิ่นในนครปารีส (Ville-de-Paris) และการปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองใหญ่อีกสองแห่งคือ Lyon และMarseilleนครปารีสนครปารีสหรือ Ville-de-Paris นี้เป็นเมืองหลวงของประเทศและมีสถานะเป็นเขตจังหวัดพิเศษ โดยตั้งอยู่ในภาค (région) ที่ชื่อว่า "Ile-de-France"8 แต่เดิมนครปารีสก็มีสถานะเป็นเขตพิเศษอยู่แล้วตั้งแต่การออกกฎหมายในปี ค.ศ.1884 ในปัจจุบัน การบริหารปกครองในเขตนครปารีสจะมีสองสถานะพร้อมๆ กัน กล่าวคือ เป็นทั้งเทศบาล (commune) และจังหวัด (département) นอกจากนี้ผลจากกฎหมายสองฉบับที่ออกในปี ค.ศ.1982 ก็ได้มีการกระจายอำนาจลงไปยังเขตหรืออำเภอ(arrondissement) ทำให้นครปารีสมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นทั้งหมด 3 รูปแบบซ้อนทับกันอภายใน9เทศบาลนครปารีสแต่กฎหมายที่ออกในปี ค.ศ.1975 กำหนดให้นครปารีสมีเทศบาลเมืองปารีส โดยโครงสร้างทางการบริหารก็เป็นเช่นเดียวกันกับเทศบาลโดยทั่วไป กล่าวคือประกอบไปด้วย สภานครปารีส (le conseil de Paris) มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและมีจำนวนทั้งสิ้น 163 คน และฝ่ายบริหารได้แก่ นายกเทศมนตรีนครปารีส (le maire de Paris) มีที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยเลือกจากบรรดาสมาชิกสภาด้วยกันเองโดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีนครปารีสก็มีลักษณะเช่นเดียวกับนายกมนตรีของเทศบาลอื่นๆ เว้นแต่ได้มีการกำหนดภารกิจที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจท้องถิ่น (municipalpolice) เพิ่มเติมเข้ามาให้นายกเทศมนตรีนครปารีสต้องรับผิดชอบ เช่น การรักษาความสะอาดของถนน, รักษาความเป็นระเบียบของตลาด, ดูแลการจราจร เป็นต้น10
จังหวัดปารีส พื้นที่ทางการบริหารในนครปารีสนอกจากจะเป็นเทศบาลแล้ว ยังมีสถานะเป็นจังหวัดมาตั้งแต่ครั้งที่ได้ออกกฎหมายกลางเกี่ยวกับจังหวัด ตั้งแต่ปี ค.ศ.1871 ดังนั้น พื้นที่ของนครปารีสจึงเป็นทั้งเทศบาลและจังหวัดไปพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น หลังจากกระบวนการกระจายอำนาจในปีค.ศ.1982 ที่ได้มีการถ่ายโอนอำนาจยกเขตการบริหารในระดับจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น จึงทำให้สภานครปารีสและนายกเทศมนตรีนครปารีส ทำหน้าที่เป็นสภาจังหวัด (conseilgénéral) และประธานสภาจังหวัด (président du conseil général) ในเวลาเดียวกันนอกจากนี้ อำนาจหน้าที่เดิมซึ่งเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้ถ่ายโอนลงมา จึงกลายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีนครปารีส (ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะประธานสภาจังหวัดอีกตำแหน่งหนึ่ง) ที่ต้องรับผิดชอบภารกิจดังกล่าวเพิ่มเติมจากนายกเทศมนตรีโดยทั่วไป แต่ในแง่ของการบริหารงบประมาณแล้ว จะมีระบบงบประมาณที่แยกขาดออกจากกันกล่าวคือ สภานครปารีสจะมีหน้าที่พิจารณางบประมาณรายจ่าย 3 ประเภท คือ งบประมาณของเทศบาลนครปารีส,งบประมาณของจังหวัดปารีส และงบประมาณสำหรับกิจการด้านตำรวจ (ซึ่งจัดเตรียมและ
บริหารงานโดยหน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นมาดูแลกิจการด้านตำรวจโดยเฉพาะ เรียกว่า "Prefect ofPolice")เขต arrondissementsพื้นที่ของนครปารีสได้มีการจัดแบ่งออกเป็นเขตหรืออำเภอ (arrondissements) จำนวน 20เขต ซึ่งจากกฎหมายลงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1982 ได้มีการกระจายอำนาจลงไปยังพื้นที่เหล่านี้
กล่าวคือ แต่ละเขตจะมีสภาเขต (conseil d' arrondissement) และนายกเทศมนตรีเขต (le maire d'arrondissement) เป็นของตนเอง สภาเขตจะประกอบไปด้วยสมาชิกสองประเภท ประเภทแรกได้แก่สมาชิกสภานครปารีสซึ่งได้รับเลือกตั้งในเขตนั้น และประเภทที่สองได้แก่ สมาชิกสภาเขต(conseillers d' arrondissement) มาจากการเลือกตั้งภายในเขตนั้นๆ โดยจำนวนสมาชิกประเภทนี้จะมีจำนวนเท่ากับสองเท่าของจำนวนสมาชิกสภานครที่ได้รับเลือกในเขตนั้น (แต่ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คนและไม่เกิน 40 คน) ส่วนนายกเทศมนตรีเขต จะเลือกจากสมาชิกสภาเขตที่เป็นสมาชิกสภานครปารีสประจำเขตนั้นสภาเขตมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการกิจการต่างๆ ตามมติของสภานครปารีส รวมถึงกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเขต มีอำนาจในการตั้งกระทู้ถามในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของเขตต่อนายกเทศมนตรีนครปารีสหรือสภานครปารีส ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ปรึกษาต่อสภานครปารีสในเรื่องสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับเขต เช่น การผังเมือง การวางแผนการใช้ที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอำนาจในการวางกฎเกณฑ์การใช้จ่ายเงินงบประมาณที่สภานครปารีสเป็นผู้จัดทำในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการด้านสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียน สวนสาธารณะ สนามกีฬา เป็นต้น ส่วนนายกเทศมนตรีเขตมีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ การเกณฑ์ทหาร การจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นประธานกองทุนโรงเรียน อำนาจในการอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น ทั้งนี้ เขตจะมีงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารที่เป็นของตนเอง โดยจะเป็นหมวดหนึ่งซึ่งแนบอยู่ในงบประมาณของเทศบาลนครปารีส ส่วนในด้านบุคลากรของเขตจะถือว่าเป็นบุคลากรของเทศบาลนครปารีสเมืองใหญ่ (Lyon และ Marseille)การบริหารงานในเขตเมือง Lyon และเมือง Marseille แต่เดิมจะมีรูปแบบการบริหารในรูป
ของเทศบาล (commune) เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่ผลจากการเติบโตของเมืองทั้งในด้านประชากรและสภาพความเป็นเมือง ทำให้การบริหารงานในแบบเดิมไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเมืองใหญ่ ดังนั้น กฎหมายที่ออกในปี ค.ศ.1982 ฉบับเดียวกันกับที่ใช้แก้ไขระบบการบริหารในเขตนครปารีส ก็ไม่มีการปรับปรุงระบบการบริหารในเขตเมืองทั้งสองด้วย กล่าวคือ กฎหมายดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลของทั้งสองเมือง โดยเมืองLyon เพิ่มเป็น 73 คน และเมือง Marseille เพิ่มเป็น 101 คน (ปกติเทศบาลจะมีจำนวนสมาชิกสภาได้ไม่เกิน 69 คน) และภายในพื้นที่เทศบาลยังได้มีการซอยแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตย่อย(arrondissements) โดยเมือง Lyon มี 9 เขต และเมือง Marseille มี 16 เขต และภายในเขตต่างๆ ก็จะมีรูปแบบการบริหารงานโดยมีสภาเขตและนายกเทศมนตรีเขตเช่นเดียวกันกับการบริหารของนครปารีส

ทำเนียบรัฐบาล

ทำเนียบรัฐบาล


ทำเนียบรัฐบาล (Royal Thai Government House)

ทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดในระดับชาติแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี เป็นที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับเป็นที่ตั้งสำนักงานของหน่วยงาน ระดับกรมอีกหลายหน่วย ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนเป็นที่ประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ของส่วนราชการที่กล่าวแล้ว

นอกจากนี้ทำเนียบรัฐบาลยังเป็นสถานที่ ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยือนประเทศไทย และเข้าพบนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ในบางโอกาสรัฐบาลยังได้จัดงานเกี่ยวกับรัฐพิธีขึ้นที่นี่ เช่น งานสโมสรสันนิบาตเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น และใช้บริเวณกับอาคารบางหลังจัดต้อนรับข้าราชการ ประชาชน จัดสัมมนา จัดนิทรรศการและจัดเป็นสถานที่มอบ รางวัลเกียรติยศที่ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจัดขึ้น ความสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของทำเนียบรัฐบาล คือ ประวัติความเป็นมาและความงดงามทางรูปแบบสถาปัตยกรรมของ ตัวอาคารบางหลังที่มีมาก่อนเป็นทำเนียบรัฐบาล เป็นที่สนใจของคนไทยและชาวต่างประเทศแม้ในปัจจุบัน

รัฐสภาไทย

รัฐสภาแห่ง ราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการ ปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน ใน ครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถาน ที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51, 027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
• หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
• หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
• หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำ การใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
รัฐสภาไทยเป็นรูปแบบสภาคู่ คือ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา
อาจกล่าว ได้ว่า เมื่อพูดถึงรัฐสภาหมายถึงสภาใหญ่ ที่ประกอบด้วย 2 สภาย่อย คือ สภาผู้แทนฯ กับวุฒิสภา สภาผู้แทนฯ มีสมาชิกรวม 500 คน ส่วนวุฒิสภามีสมาชิก 200 คน

รัฐสภาไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา
(Parliamentary System) ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ (BicameralSystem) คือรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีสมาชิกรวมจำนวนทั้งสิ้น 630 คน

1. โครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
แบ่งนำเสนอโครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
เป็น 2 ส่วน ตามโครงสร้างของรัฐสภา ดังนี้

1.1 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 480 คน ดังนี้

1.2 ประเภทแรก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน400 คน ทั้งนี้ โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตละไม่เกิน 3 คน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือก ตั้งได้เท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้นประเภทที่ สอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน จำนวน 80 คนทั้งนี้ โดยแบ่งเขต เลือกตั้งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด ให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และแต่ละเขตให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 10 คน ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 เสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณากำหนดเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็น 157 เขต ส่วนการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้น แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 8 เขตเลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่ม 11.2 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 150 คน ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก การเลือกตั้ง ดังนี้

ประเภท แรก สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดจังหวัดละ 1 คน ฉะนั้นเมื่อมีจังหวัด 76 จังหวัด จึงมีสมาชิกวุฒิสภาประเภทนี้รวมจำนวน 76 คนประเภทที่สอง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จำนวน 74 คน ทั้งนี้โดยให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวม มาจากการเสนอชื่อขององค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการ

ศาลปกครอง

ศาลปกครอง
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งได้แก่ คดีในลักษณะ ดังต่อไป
1. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองฝ่ายเดียว อันได้แก่ การใช้อำนาจที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำเนินการได้เองฝ่ายเดียวโดยไม่จำเป็นต้องให้เอกชนยินยอมเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ เช่น กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป หรือการออกคำสั่งทางปกครอง เช่น คำสั่งอนุญาต อนุมัติ คำสั่งแต่งตั้ง ฯลฯ

2. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาที่หน่วยงานของรัฐจ้างให้เอกชนสร้างสะพาน สร้างถนน

3. มาจากการกระทำละเมิดทางปกครอง หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ เช่น ทางราชการออกคำสั่งปิดโรงงานและก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของโรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ละเลยหรือต่อใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการล่าช้าเกินสมควรจนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย

4. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น ในเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดเวลาให้เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน หรือแม้กระทั่งในเรื่องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ แต่โดยปกติสามารถดำเนินการให้เสร็จในระยะเวลาหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการใดๆจนเวลาล่วงเลยไปหลายเดือน

5. คดีพิพาททางปกครองอื่นๆ เช่น คดีที่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะว่าให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง หรือให้หน่วยงานทางปกครองต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำหรือละเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด คดีปกครองเหล่านี้ กฎหมายกำหนดว่า ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครองชั้นต้น

สำหรับศาลปกครองสูงสุดนั้น กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังต่อไปนี้
1. คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
4. คดีที่กฎหมายกำหนดไว้เฉพาะให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด

กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ ศาลปกครองชั้นต้นจะเป็นศาลที่มีอำนาจทั่วไปในการพิจารณาคดีปกครอง โดยเป็นศาลแรกที่คู่กรณีจะนำคดีมาฟ้อง ส่วนศาลปกครองสูงสุดก็จะเป็นศาลสูง ที่คอยตรวจสอบคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นอีกครั้งหนึ่งหากคู่กรณีไม่พอใจคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีบางประเภทที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ส่วนเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร เรื่องการดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) หรือคดีที่อยู่ในอำนาจศาลชำนัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลาย

การฟ้องคดีปกครอง การฟ้องคดีถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก การฟ้องคดีปกครองนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนให้เป็นภาระแก่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดี เว้นแต่เงื่อนไขบางประการที่ต้องกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินคดี อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรืออาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย และยังไม่บังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดีอีกด้วย

เงื่อนไขในการฟ้องคดี ถึงแม้ว่าการฟ้องคดีปกครองจะกระทำได้โดยง่าย แต่ก็มีความจำเป็นที่ต้องกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีการกลั่นแกล้งฟ้องคดีกันอย่างพร่ำเพรื่อหรือโดยไม่มีมูลใดๆ ซึ่งจะเป็นการสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ถูกฟ้องคดีและยังเป็นภาระแก่ศาล หรือเพื่อให้การแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายเป็นระบบและมีความชัดเจน เงื่อนไขเหล่านี้ กฎหมายกำหนดไว้เพียง 4 ประการเท่านั้น ได้แก่

1. ผู้ฟ้องคดี ต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของทางราชการ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้ฟ้องต่อศาลปกครอง

2. ระยะเวลาการฟ้องคดีต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือภายใน 1 ปี ในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ หรือในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

3. คำฟ้อง ไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้อง ซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร คำขอว่าประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไรเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายของตน และต้องลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี

4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครอง

หากในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อน ผู้ฟ้องคดีก็ต้องดำเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้
การยื่นฟ้อง

นอกจากสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองแล้ว ผู้ฟ้องคดีอาจใช้วิธีส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

ส่วนปัญหาที่ว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลใดนั้น ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็ถือหลักง่ายๆว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา หรือที่มูลคดีเกิดขึ้น ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุดก็ต้องยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลปกครองสูงสุด เว้นแต่การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้นๆ

การดำเนินคดีในศาลปกครอง
การดำเนินคดีในศาลปกครองนั้น การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานให้ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะนิติสัมพันธ์ระหว่างทางราชการกับเอกชนไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ต้องใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวนดังที่กล่าวมาแล้ว ควบคู่กับหลักการให้สิทธิโต้แย้งหรือหลักการฟังความสองฝ่าย ด้วยเหตุนี้ หากผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มที่ เพราะเอกสารหลักฐานอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ก็สามารถระบุเหตุขัดข้องเพื่อที่ศาลจะดำเนินการให้ได้พยานหลักฐานนั้นต่อไป หรือเมื่อทางราชการมีคำชี้แจงหรือข้อโต้แย้งอย่างใด จะต้องให้ผู้ฟ้องคดีได้รับทราบโดยผู้ฟ้องคดีสามารถชี้แจงแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งเสนอพยานหลักฐานของตนได้ และในการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกก็ยังเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำแถลงของฝ่ายตน และอาจมาแถลงด้วยวาจาต่อหน้าศาลได้อีกด้วย
นอกจากนั้น ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองยังให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างตุลาการศาลปกครองด้วยกัน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อเท็จจริง กล่าวคือ โดยหลักแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวน จะเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง แต่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงนั้นต่อตุลาการอื่นที่ประกอบเป็นองค์คณะ และต่อ ตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งมิใช่ตุลาการในองค์คณะนั้นได้พิจารณาด้วย สำหรับในส่วนของการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดี ตุลาการผู้แถลงคดี จะเสนอ คำแถลงการณ์ ซึ่งรวมถึงความเห็นในทางชี้ขาดตัดสินคดีต่อองค์คณะก่อนที่องค์คณะจะลงมติวินิจฉัย อันเปรียบเสมือนเป็นความเห็นของตุลาการคนเดียวว่า หากตนมีหน้าที่ต้องตัดสินคดีเรื่องนั้นตนจะพิพากษาอย่างไร ด้วยเหตุผลประการใด ซึ่งแม้ว่าคำตัดสินขององค์คณะเท่านั้นที่จะถือเป็นคำพิพากษา แต่การให้มีระบบการเสนอ คำแถลงการณ์ ของตุลาการผู้แถลงคดีต่อองค์คณะเช่นนี้ จะช่วยส่งเสริมให้การใช้อำนาจตัดสินคดีขององค์คณะมีความรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะหากองค์คณะไม่เห็นด้วยกับคำแถลงการณ์ โดยหลักก็จะต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่หนักแน่นและน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะจะมีการเปรียบเทียบข้อวินิจฉัยและเหตุผลของตุลาการผู้แถลงคดีและขององค์คณะได้ง่าย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีการพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาขององค์คณะและคำแถลงการณ์ของผู้แถลงคดีควบคู่กันเสมอ

เขตอำนาจศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 94 บัญญัติว่า ในวาระเริ่มแรก ให้จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาค ดังต่อไปนี้

(1) ศาลปกครองขอนแก่น ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม

(2) ศาลปกครองชุมพร ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดระนอง

(3) ศาลปกครองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน

(4) ศาลปกครองนครราชสีมา ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา

(5) ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

(6) ศาลปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์

(7) ศาลปกครองพิษณุโลก ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย

(8) ศาลปกครองแพร่ ตั้งอยู่ในจังหวัดแพร่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์

(9) ศาลปกครองยะลา ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

(10) ศาลปกครองระยอง ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว

(11) ศาลปกครองลพบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครนายก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง

(12) ศาลปกครองสกลนคร ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร

(13) ศาลปกครองสงขลา ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล

(14) ศาลปกครองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี

(15) ศาลปกครองอุดรธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี

(16) ศาลปกครองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียน อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่ กิโลเมตรที่ 0.0 ถนนพหลโยธิน

ความสำคัญของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญและเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิตใน กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

สิ่งก่อสร้างบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทางด่วนขั้นที่ 2 สถานีรถไฟฟ้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรบินสัน

ประวัติ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุลก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า"

การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ • ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 3

• ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ

• อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ

• เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ

• ความสนใจของประชาชน

หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป พีระศรี
ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้ มีทั้งสิ้น 160 คน เป็นทหารบก 94 คน ทหารเรือ 41 คน ทหารอากาศ 13 คน และตำรวจสนาม 12 คน จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 คน
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นเพื่อจารึกรายนามของทหารหาญและวีรชนที่เสียชีวิตในสงครามข้อพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส รวมทั้งทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี ที่ได้สละเลือดเนื้อและชีวิตในการปกป้องเอกราชอธิปไตยไว้ให้ลูกหลานไทย

เหตุการณ์ดังกล่าวย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ.2483 สมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประเทศไทยได้เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสก็ได้เร่งรัดให้ทำสัตยาบันไม่รุกรานฝรั่งเศสเป็นการตอบแทนตามที่ได้เคยทำสัญญาไว้ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อแลกสัตยาบันกันเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลไทยให้คำตอบว่ายินดีจะทำตามหากฝรั่งเศสยกดินแดนหลวงพระบาง ปากเซ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่ยึดไปเมื่อปีพุทธศักราช 2447 คืนให้กับไทย และทำการปักปันเส้นเขตแดนในลำน้ำโขงให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ต้องรับประกันว่าจะยกประเทศลาวซึ่งเดิมเป็นอาณาจักรของไทยคืนให้ไทยด้วย หลังจากที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้ว แต่ฝรั่งเศสตอบปฏิเสธข้อเสนอนี้
ดังนั้น จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทกันขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อฝรั่งเศสทำการทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 โดยทางรัฐบาลไทยได้โต้ตอบโดยการทิ้งระเบิดเช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทให้ยุติลง โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อประชุมทำสัตยาบันสันติภาพที่กรุงโตเกียวฝรั่งเศสตกลงยอมยกดินแดนหลวงพระบาง ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง นครจำปาศักดิ์กับที่ท่าสามเหลี่ยมฝั่งขวา และอาณาเขตมณฑลบูรพาเดิมให้กับไทยผลจากกรณีพิพาทครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทหารหาญจำนวน 59 นาย ซึ่งมีชื่อจารึกอยู่บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับศิลาอ่อน มีรูปทรงเป็นดาบปลายปืน 5 เล่ม มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายปืนมีรูปปั้นนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ยืนล้อมรอบอยู่ บริเวณใต้รูปปั้นมีแผ่นทองแดงซึ่งเป็นที่จารึกรายชื่อของผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย



ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ จะร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และยังมีพิธีสวนสนามที่ลานอเนกประสงค์ กองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ด้วย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย



อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมีคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน เข้ายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง

จอมพล ป. พิบูลสงคราม หนึ่งในคณะราษฎรชุดเริ่มก่อตัวในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2468 และก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ดำริว่า เมื่อสหรัฐอเมริกาเขาได้เสรีภาพมา เขาก็สร้างอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพขึ้นเป็นอนุสรณ์ เราคนไทยได้การปกครองระบอบประชาธิปไตยน่าจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์บ้าง จึงคิดที่จะสร้างอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงการได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบที่ประชาชนมีอำนาจสูงสูดในการปกครอง และให้เห็นความสามัคคีกลมเกลียวของประชาชนที่จะช่วยกันพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญที่ได้มาสถิตสถาพรตลอดไป

การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง โดยมอบงานนี้ให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทั้งการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 แล้วเสร็จในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 250,000 บาท และทำพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483


อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นอกจากจะมีความสง่างามแล้ว ทุกส่วนล้วนแต่มีความหมาย ปีกทั้ง 4 ด้านที่ตั้งสูงขึ้นไป หมายถึง บุคคล 4 เหล่า คือ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน ที่เข้าร่วมกันเป็นคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีกนี้แต่ละปีกยังมีส่วนสูงจากฐานถึงยอด 24 เมตร หมายถึงวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือวันที่ 24 ของเดือน พานรัฐธรรมนูญ ตัวพานหล่อด้วยสำริด ประดิษฐานอยู่เหนือป้อมกลางพื้นวงกลมสูง 3 เมตร หมายถึงเดือนที่ 3 แห่งปี คือ เดือนมิถุนายน ซึ่งตอนนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มปีใหม่ มาเปลี่ยนเป็นเดือนมกราคมใน พ.ศ. 2484 และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)
รัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ

ปืนใหญ่โบราณที่ปากกระบอกปืนฝังลงดินโดยรอบอนุสาวรีย์เหมือนเป็นรั้ว ร้อยติดกันด้วยโซ่เหล็ก หมายถึง ความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ เว้นช่องเฉพาะทางขึ้นลง มี 75 กระบอก หมายถึง พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

พระขรรค์ที่ประตูป้อมประดิษฐานรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ด้าน มี 6 เล่ม หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎรในการบริหารประเทศ ได้แก่
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น ทางการเมือง ทางศาล ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความสงบปลอดภัยในประเทศ ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข
3. จะต้องทำนุบำรุงความเป็นอยู่ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ ให้ราษฎรมีงานทำ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน
5. ให้ราษฎรได้เสรีภาพ อิสรภาพ ตามขอบเขตของกฎหมาย
6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรมอย่างเต็มที่

และฐานของปีกทั้ง 4 ซึ่งมี 8 ด้าน มีภาพปูนปั้นแสดงประวัติความเป็นมาของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กับฐานที่ด้านนอกของปีกทั้ง 4 ยังมีอ่างน้ำ รับน้ำพุจากงูใหญ่ ซึ่งหมายถึงปีมะโรงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้น้ำตลอดปี หมายถึงให้คนไทยมีน้ำจิตน้ำใจต่อกันเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า

ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จอมพล.ป พิบูลสงคราม ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า

" เพื่อเชิดชูคุณค่าของประชาธิปไตย และเพื่อมีเครื่องเตือนใจให้พยายามผดุงรักษาระบอบนี้ให้สถิตสถาพรอยู่ตลอดกาล คณะรัฐบาลจึงลงมติให้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลาวแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆที่จะออกจากรุงเทพฯไปยังหัวเมือง ก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรยีนี้ ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ ก็กำลังก่อสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง"

พระมหากษัตริย์ไทย

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ราชาธิปไตย


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) ตั้งแต่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
พระอิสริยยศ: สยามินทราธิราช
ผู้สืบทอดราชสมบัติ: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ปฐมกษัตริย์: พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
สถาปนา: พ.ศ. 1792

พระมหากษัตริย์ไทย หมายความถึงราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรของคนไทยในอดีตจนถึงประเทศไทยในปัจจุบันพระมหากษัตริย์ของไทย ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้นำราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน มีที่ประทับอย่างเป็นทางการ คือ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เนื่องจากราชอาณาจักรไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระองค์จะทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก
พระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยพระองค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (รัชกาลที่ 9) ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก โดยพระราชอำนาจของพระองค์จะใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ยังทรงดำรงฐานะเป็น จอมทัพไทย และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในพระบรมราชานุมัติ และการพระราชทานอภัยโทษ (ตามกฎหมาย) รวมถึงทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ฉบับถาวร พ.ศ. 2475) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ได้บัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไว้ว่า "[พระองค์] ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
ทั้งนี้ รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงพระองค์ปัจจุบันของพระมหากษัตริย์ไทยหรือตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ อันเป็นไปตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักรราช 2467 โดยรูปแบบของการสืบราชสันติวงศ์จะสืบทอดจากพระราชบิดาไปสู่พระราชบุตรตามสิทธิของบุตรคนแรกที่เป็นชายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 หรือ ค.ศ. 2007) ได้บัญญัติเพิ่มเติมจากกฎมณเฑียรบาล โดยให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสันติวงศ์ได้ด้วยเช่นกัน

สองมาตรฐานการเมืองไทย

การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

ศึกษาลักษณะการปกครองของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เพื่อเป็นแนวทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันที่นำลักษณะการปกครองของประเทศต่างๆ เข้ามาปรับปรุงในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540)
การปกครองประเทศอังกฤษ : ระบบรัฐสภา


รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701 เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่ยอมรับกันมาเกือบ 300 ปีแล้ว
รัฐธรรมนูญของอังกฤษ จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัติถึง 2 ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและตามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมาการปกครองของอังกฤษมิได้มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ในลักษณะที่ชัดเจน

หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law)
หลักการปกครองโดยกฎหมายของอังกฤษ เป็นหลักที่มีความหมาย 3 ประการ คือ
1. ต้องไม่ใช้กำลังปกครอง ต้องใช้กฎหมายปกครอง ประชาชนต้องเคารพกฎหมาย
2. คนอังกฤษถูกปกครองโดยกฎหมายและโดยกฎหมายเท่านั้น การจะลงโทษหรือจับกุมคนอังกฤษโดยปราศจากการไต่สวนตามกระบวนการของกฎหมายและโดยไม่มีความผิดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายจะกระทำมิได้
3. อำนาจของพระมหากษัตริย์และรัฐมนตรีนั้นมีต้นกำเนิดมาจากพระราชบัญญัติของรัฐสภา

ทั้งนี้ ประเทศอังกฤษยังมีหลักการจำกัดอำนาจของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองนี้กับหลักสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เป็นหลักประกันให้เกิดระบบเผด็จการ ซึ่งมาจากการปฏิวัติที่รุ่งโรจน์ ปี ค.ศ.1688 โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Bill of Rights) ปี ค.ศ.1689 และพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดข้อจำกัดของอำนาจพระมหากษัตริย์ที่จะกระทำการใดๆ โดยไม่ปรึกษารัฐสภาไม่ได้

หลักอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Supremacy of Parliament)
อำนาจสูงสุดหรืออธิปไตยเป็นของรัฐสภา หมายความว่า รัฐสภามีสิทธิที่จะออกกฎหมาย หรือยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ได้ และไม่มีผู้ใดในอังกฤษที่จะเพิกเฉย หรือละเมิดต่อกฎหมายของรัฐสภา หลักของอำนาจสูงสุดของรัฐสภานี้หมายความว่า ในระบบการปกครองของอังกฤษ อธิปไตยอยู่ที่องค์กรรัฐสภาอันประกอบด้วย สภาขุนนาง สภาผู้แทน และพระมหากษัตริย์ ฉะนั้น แม้ว่าจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำ คือ คณะรัฐมนตรีในฐานะเป็นคณะรัฐบาลของพระมหากษัตริย์ทำหน้าที่บริหาร แต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนสามารถทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดด้วย การทำหน้าที่เป็นศาลสูงนั้นเป็นบทบาทในส่วนของสภาขุนนาง (House of Lords)

รัฐธรรมนูญอังกฤษนั้นจึงไม่ได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตย แต่เป็นการแบ่งบทบาทหน้าที่ ฉะนั้นจึงมีกระบวนการ รวมอำนาจไว้ที่รัฐสภา (Fusi on of Power) แต่ก็มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกันที่เรียกว่า Organic Link โดยสถาบันรัฐสภา การที่รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการในรูปนี้ เป็นเรื่องของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มิได้มีความจงใจจะให้เกิดระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด อำนาจของรัฐสภามีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเพียงให้ความร่วมมือในการเพิ่มภาษีของพระมหากษัตริย์ ต่อมากลายเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ต่อมาอีกรัฐสภาก็เริ่มมีอำนาจในด้านออกกฎหมาย ซึ่งเริ่มต้นเป็นการตรากฎหมาย เพื่อแก้ไขขจัดข้อเดือดร้อนของประชาชนเท่านั้น ต่อมาขยายไปเป็นอำนาจนิติบัญญัติทั่วไป

ส่วนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาจาการที่พระเจ้ายอร์จที่ 1 (George I) แห่งราชวงศ์ Hannover ซึ่งทรงได้รับการเชิญให้มาปกครองประเทศอังกฤษในช่วง ค.ศ.1715 ซึ่งราชวงศ์นี้มาจากเยอรมันนี พระองค์จึงทรงไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ได้ทรงมอบหมายงานการประชุมสภาเสนาบดีให้แก่ เซอร์โรเบิร์ต วอลโปล ทำหน้าที่เป็นประธาน นี้คือจุดกำเนิดของตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ซึ่งตอนนั้น เซอร์โรเบิร์ต วอลโปล ได้รับสมญานามภายหลังว่า “Primus Inter Pares” หรือ First among Equals คือ ผู้อันดับ 1 ในจำนวนผู้ที่เท่ากัน นั้นคือตำแหน่ง Prime Minister ซึ่งเป็นชื่อเรียกสมัยต่อมา ในการคัดเลือกรัฐมนตรีก็คัดเลือกจากบุคคลที่จะได้รับเสียงสนับส่วนใหญ่จากรัฐสภา นี้คือจุดเริ่มต้นระบบคณะรัฐมนตรี ซึ่งเปรียบเสมือนคณะกรรมการของรัฐสภาที่สมาชิกเลือกขึ้นมา เพื่อทูลเกล้า ให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง

ผลของการปฏิบัติดังกล่าว ได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยต่อๆ มา สมัยนี้ธรรมเนียมปฏิบัติจะกำหนดให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งบุคคลที่เป็นหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา และเมื่อนายกรัฐมนตรีคนไหนไม่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา ก็จะต้องเชิญหัวหน้า ฝ่ายค้าน ซึ่งได้รับเสียงส่วนมากเข้าจัดตั้งรัฐบาลแทน และรัฐบาลต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อนโยบาย หากผู้ใดไม่เห็นชอบด้วยกับนโยบาย ต้องลาออก ขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของคณะรัฐมนตรีไม่ได้ ขนบธรรมเนียมนี้ค่อยๆ วิวัฒนาการมาจากภาคปฏิบัติ ซึ่งเมื่อมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งยึดถือปฏิบัติ ท่านอื่นๆ ในภายหลังก็ปฏิบัติตาม

การขยายสิทธิการเลือกตั้งให้แก่ประชาชนทั่วไป
ในศตวรรษที่ 18 รัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างออกมายังเรียกว่าประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังคงเป็นชนชั้นผู้มีทรัพย์สมบัติ ในปลายศตวรรษที่ 18 ได้เริ่มเกิดขบวนการปฏิรูปรัฐสภา และขบวนการของพวก Radlicals ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมตามแผนการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่สงครามนโปเลียนที่ยืดยาว ทำให้ขบวนการปฏิรูปพบกับอุปสรรคและแรงต้านทานจากชนชั้นต่างๆ จนกระทั่ง ค.ศ.1830 เหตุการณ์จึงเปลี่ยนแปลงไป และรัฐสภาได้ยอมรับแนวคิดการปฏิรูปโดยผ่าน พระราชบัญญัติปฏิรูป ค.ศ.1832 (Great Reform Act) ซึ่งขยายสิทธิการเลือกตั้งให้แก่ชนชั้นกลางระดับสูง และได้ปรับเขตการเลือกตั้งให้เมืองอุตสาหกรรมใหม่ได้มีผู้แทน ต่อมาในปี ค.ศ.1867 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีก โดยให้สิทธิการเลือกตั้งแก่กรรมกรในเมืองอีกหนึ่งล้านคน ใน ค.ศ.1884 ได้ให้สิทธิ์แก่กรรมกรในเขตชนบท ค.ศ.1918 ชายทุกคนอายุ 21 ปีขึ้นไป มิสิทธิ์ และสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ปี ค.ศ.1928 สตรีอายุ 21 ปีขึ้นไปจึงมีสิทธิ์ต้องใช้เวลาประมาณ 100 ปี ประชาชนผู้มีอายุ 21 ปีขึ้นไป ทุกคนจะมีสิทธิ์ ประชาธิปไตยอังกฤษใช้เวลานานมากในการย่างก้าวไปสู่การบรรลุนิติภาวะ จากการที่ขยายสิทธิทางการเมืองอย่างช้าๆ เช่นนี้ มีผลอย่างหนึ่ง คือ ทำให้ผู้ที่จะได้สิทธิ์ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ทุกๆ ขั้นตอน และเมื่อได้มาแล้วก็รู้จักใช้สิทธิ์อย่างผู้รับผิดชอบ ฉะนั้น ในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 จะไม่เคยได้ยินได้ฟังปัญหาของการซื้อเสียงอีกเลย

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาขุนนาง และสภาสามัญ

ภายหลังการปฏิวัติรัฐสภา ปี ค.ศ.1688 สภาขุนนางเป็นสภาที่มีอิทธิพลสูงสุด ซึ่งควบคุมการดำเนินการทางการเมืองของสภาสามัญ ผู้แทนฯ ในสภาสามัญส่วนใหญ่ ก็คือ ญาติพี่น้อง หรือผู้ใกล้ชิดของขุนางส่วนมาก และตัวนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีส่วนหนึ่งก็มาจากสภาขุนนาง ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้มีคุณสมบัติเลือกตั้ง ขยายสิทธิให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ และชนชั้นกลางจากเมืองอุตสาหกรรมเริ่มเข้ามามีเสียงในสภาสามัญ อิทธิพลของสภาสามัญเริ่มสูงมากขึ้น จนในที่สุดอำนาจในสภาขุนนางในการที่จะยับยั้งกฎหมาย และพระราชบัญญัติการเงินได้เริ่มลดลง ใน ค.ศ.1911 ได้มีพระราชบัญญัติลดอำนาจสิทธิการยับยั้ง ของสภาขุนนางไว้อย่างชัดเจนนับตั้งแต่นั้นมา ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงมาจากสภาสามัญศูนย์กลางของการเมืองจึงอยู่ที่สภาสามัญ (House of Commons)

ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
รัฐสภาเป็นศูนย์กลางของการปกครอง อำนาจอธิปไตยอยู่ที่สถาบันนี้ในเวลาปกติที่ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วนอย่างเด็ดขาด การแบ่งแยกเป็นบทบาทและหน้าที่มากกว่า เมื่อรูปแบบการปกครองมีลักษณะดังกล่าวประเด็นคำถามที่ตามมา ก็คือ จะป้องกันมิได้เกิดเผด็จการทางรัฐสภาได้หรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นว่า เผด็จการทางรัฐสภาคงไม่เกิดขึ้น แต่รูปแบบนี้ช่วยส่งเสริมให้รัฐบาลที่คุมเสียงข้างมากในรัฐสภาบริหารงานตามเป้าหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่จะบริหารงานอย่างราบรื่น มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองซึ่งบังเอิญของอังกฤษเป็น ระบบสองพรรค คือมีพรรคใหญ่ๆ 2 พรรคเมื่อพรรคหนึ่งเป็นรัฐบาล อีกพรรคหนึ่งก็เป็นฝ่ายค้าน
ฉะนั้น จึงมักกล่าวกันว่า นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้น เมื่อได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองของตนซึ่งคุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาแล้ว จะมีอำนาจบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าประธานาธิบดีของสหรัฐเสียอีก แต่อำนาจของฝ่ายบริหารซึ่งดูจะมีมากตามระบบนี้ ก็ยังมิใช่อำนาจเผด็จการ ทั้งนี้ เพราะขนบธรรมเนียมได้ยอมรับให้มีฝ่ายค้านในรัฐสภา โดยหัวหน้าพรรคของฝ่ายค้านจะได้รับการยอมรับว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเงา ได้รับเงินเดือนมาเป็นพิเศษสูงกว่าผู้แทนราษฎร พรรคฝ่ายค้านนี้จะทำหน้าที่ยับยั้งมิให้ฝ่ายรัฐบาลสามารถดำเนินการใดๆ ที่ขัดต่อผลประโยชน์ของส่วนรวม เพราะในที่สุดประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าใครผิดใครถูก โดยเฉพาะในสมัยเลือกตั้งซึ่งจะต้องมีขึ้นทุกๆ 5 ปี หรือภายในเวลา 5 ปี ฝ่ายค้านจึงเป็นกลไกของการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายรัฐบาล
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกที่วิวัฒนาการตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้คิดถึงสิทธิหรืออุดมการณ์จะเป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออำนาจและประโยชน์ของชนชั้นของตนเอง


การปกครองประเทศสหรัฐอเมริกา : ระบบประธานาธิบดี
รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับที่เก่าแก่ที่สุดในโลกปัจจุบัน โดยเริ่มต้นจากการที่ผู้แทนของรัฐต่างๆ 12 รัฐที่มาประชุมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ปี ค.ศ.1787 นั้นโดยเจตนาจะมาเพื่อแก้ไขมาตราของรัฐธรรมนูญของสมาพันธรัฐเดิม แต่เมื่อมาถึงแล้วกลับกลายมาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยทั้ง 55 คนที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ส่วนมากมีพื้นเพจากชนชั้นที่มีทรัพย์ ส่วนมากจะเอียงไปทางอนุรักษ์นิยม มีความเกรงกลัวเรื่องผลของความรุนแรงจากพลังประชาธิปไตย อันที่จริงเขาเหล่านี้พื้นเพเดิม คือ มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอังกฤษ จึงได้รับการศึกษาแบบอังกฤษ ความคิดทางการเมืองของนักปรัชญา เช่น จอห์น ล็อก และมองเตสกิเออร์ มีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้นำเหล่านี้มาก นอกจากนี้ กลุ่มผู้นำเหล่านี้ยังได้ผ่านสงครามกู้อิสรภาพปลดแอกจากอังกฤษ ฉะนั้น จึงรู้คุณค่าของอิสรภาพเป็นอย่างดี และซาบซึ้งว่าการปกครองมิใช่เรื่องการให้เสรีภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อจะบริหารประเทศได้ รูปแบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐขณะนั้น ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเลยมีแต่สภาคองเกรส ซึ่งสภาคองเกรสจะผ่านพระราชบัญญัติใดๆ ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุน 9 จาก 13 เสียง และถ้าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากทุกรัฐ
ในเมื่อระดับประเทศไม่มีรัฐบาลกลางที่จะมาจัดเก็บภาษี และไม่มีกองทัพของชาติที่จะปกป้องประเทศ สหรัฐจึงประสบปัญหาในการบริหารมากมาย เช่น ปัญหาของการใช้หนี้สงครามที่ผ่านไป ปัญหาต่างประเทศ ปัญหาการป้องกันประเทศ ปัญหาภัยจากเผ่าอินเดียนแดง ปัญหาของการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เป็นต้น
ฉะนั้น กลุ่มผู้นำจาก 12 รัฐ ที่มาประชุม (ขาดผู้แทนรัฐโรด ไอซ์แลนด์ 1 รัฐ) จึงเป็นผู้มีอุดมคติและมีประสบการณ์ที่ค่อนข้างลบจากรูปแบบการปกครองสมาพันธรัฐ เขาเหล่านั้นจึงเปลี่ยนใจจากเดิมที่มีเจตนามณ์จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญเดิม ก็กลายเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในบรรดาผู้นำ 55 คนนี้ มีนักคิด นักปรัชญา และรัฐบุรุษในอดีตและอนาคตหลายท่าน เช่น ยอร์จ วอชิงตัน เบนจามิน แฟรงคลิ และเจมส์ เมดิสัน เมดิสันนั้นถือกันว่า เป็นผู้สะท้อนความคิดของคนสมัยนั้นมากที่สุด จากการที่เขามีแนวความคิดก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็ไม่หลงใหลหรือหลงละเมอกับคำว่า “เสียงของประชาชน” เสมอไป เขาคิดว่า มนุษย์เรามักเข้าข้างตนเอง สามารถทำความชั่วได้เสมอ ฉะนั้น จำเป็นต้องหาวิธีการที่จะเป็นสองอย่างควบคู่กันไป คือ ประการแรก จะต้องหาวิธีการสร้างรัฐบาลกลางให้เข็มแข็งพอที่จะปกครองคนได้ และประการที่สอง จะต้องหาวิธีการที่จะสร้างกลไกเพื่อให้รัฐบาลควบคุมตนเอง ในการสร้างรัฐบาลเพื่อให้มนุษย์ปกครองมนุษย์กันเอง ความยากลำบากจึงอยู่ที่ว่า ประการแรก จะต้องให้อำนาจแก่รัฐบาลกลางเพื่อที่จะสามารถควบคุมผู้อยู่ใต้ปกครองได้ กำหนดให้รัฐบาลสามารถควบคุมตนเองได้ และจำเป็นจะต้องมีมาตรการที่จำเป็นไว้เพื่อป้องกันผลเสียหาย เสรีภาพและเสถียรภาพมั่นคงระหว่างการสร้างรัฐบาลชาติให้มีอำนาจปกครองประเทศได้ ขณะเดียวกันธำรงรักษาสิทธิเสรีภาพของมลรัฐที่จะปกครองตนเองในระดับหนึ่ง

หลักการของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
1.รัฐธรรมนูญสร้างระบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐ (Federation) เป็นรูปแบบที่มีทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ ประเด็นคือ จะแบบอำนาจกันอย่างไรระหว่างสองระดับนี้
มาตรา 1 ส่วนที่ 8 ได้กำหนดอำนาจของสภาคองเกรสไว้อย่างชัดเจน เช่น อำนาจที่จะจัดเก็บภาษีอากร ใช้หนี้รัฐบาล จัดการป้องกันประเทศ การกู้ยืมหนี้สิน การออกระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศและระหว่างมลรัฐต่างๆ อำนาจที่จะผลิตเงินตราและกำหนดค่าของเงินตรา จัดตั้งกองทัพ ประกาศสงคราม และออกพระราชบัญญัติ “ที่จำเป็นและเหมาะสม” เพื่อดำเนินการตามนโยบายและอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ในขณะเดียวกันใน มาตรา 1 ส่วนที่ 10 ก็ได้จำกัดอำนาจของมลรัฐในหลายๆ เรื่อง เช่น ห้ามมิให้มลรัฐทำสัญญากับต่างประเทศ ห้ามผลิตเงินตรา เป็นต้น ต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 10 กำหนดว่า อำนาจที่มิได้กำหนดให้เป็นของสหรัฐ และยังมิได้เป็นข้อห้ามสำหรับมลรัฐให้เป็นอำนาจของมลรัฐ นี่คือหลักที่เรียกกันว่า “อำนาจที่ยังคงเหลือ” ของรัฐ (Residual Power ขณะเดียวกันในมาตรา 6 ส่วนที่ 2 ของรัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้อีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้และกฎหมายของรัฐที่จะออกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะมีความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาในทุกๆ มลรัฐจะต้องยึดถือกฎหมายเหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติ เรียกกันว่า หลักของกฎหมายสูงสุด (Supremacy Clause)
นอกจากนั้น ยังมีการประนีประนอมที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งระหว่างมลรัฐด้วยกันอง โดยกำหนดให้สภาคองเกรสประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สำหรับสภาผู้แทนราษฎรจะใช้หลักการเลือกตั้งโดยตรง บนพื้นฐานของจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ ส่วนวุฒิสภากำหนดให้แต่ละรัฐส่งสมาชิกให้รัฐละ 2 คน

2.รัฐธรรมนูญสร้างระบบการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่พอใจเพียงการแบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐเท่านั้น ยังต้องแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจนิติบัญญัติ ประธานาธิบดีอำนาจบริหาร และศาลมีอำนาจตุลาการ ตามหลักของมองเตสกิเออร์ ในการแบ่งแยกอำนาจนี้ยังได้แยกสถาบันฝ่ายบริหารออกจากสภานิติบัญญัติค่อนข้างจะเด็ดขาด กล่าวคือ ทั้งสองสถาบันมีฐานอำนาจ แยกกัน ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระสมัย 4 ปี แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของท่านเอง สภาคองเกรสไม่มีอำนาจจะล้มรัฐบาล ส่วนสภาคองเกรส ก็เช่นกัน ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวาระสมัย 2 ปี และ สำหรับวุฒิสภามีวาระสมัย 6 ปี ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภา
คองเกรสได้

3.รัฐธรรมนูญสร้างระบบตรวจสอบและคานอำนาจ (Checks and Balance) นอกจากจะแบ่งแยกอำนาจแล้ว ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีการตรวจสอบหรือคน อำนาจซึ่งกันและกันได้ เช่น สภาคองเกรสมีอำนาจในการออกพระราชบัญญัติ แต่ประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะยับยั้งได้ (Veto) อย่างไรก็ตาม เมื่อประธานาธิบดีได้ใช้สิทธิยับยั้งแล้ว หากร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของสภาคองเกรสเป็นครั้งที่สอง โดยได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ก็จะออกเป็นกฎหมายได้ในทางกลับกันประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจ แต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลสูงสุดและรัฐมนตรี แต่การเสนอเพื่อแต่งตั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน ผู้พิพากษานั้นเมื่อได้รับแต่งตั้งแล้ว แต่สภาคองเกรสก็สามารถที่จะกล่าวโทษผู้พิพากษาได้เมื่อมีเหตุหรือมลทินมัวหมอง ในทำนองเดียวกันว่าศาลสูงสุดมีอำนาจที่จะประกาศว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญ

4.รัฐธรรมนูญยึดหลักของการจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน หลักการที่เป็นแม่บทการปกครองของรัฐธรรมนูญสหรัฐ คือ หลักของการปกครองโดยความยินยอมเห็นชอบของประชาชน หลักการนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ต่อเมื่อจัดให้มีระบบการเลือกตั้งในทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครอง ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชนให้มาเลือกประธานาธิบดี ส่วนผู้แทนราษฎรในสภาล่างและวุฒิสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเช่นกัน ผู้พิพากษาอาจจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีศรัทธาต่อระบบการเลือกตั้งมาก และเชื่อมั่นว่า รัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชนนี้จะเป็นรัฐบาลที่ยที่สุด

5.หลักของสิทธิเสรีภาพของมนุษยชน หลักของสิทธิเสรีภาพเป็นหลักขั้นมูลฐานที่จะอำนวยให้ระบบการปกครองแบบเลือกตั้งได้เป็นประชาธิปไตยได้สมบูรณ์แบบ

โดยสรุป รูปแบบการปกครองของสหรัฐ อาจจะเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยพหุนิยม (Pluralist Democracy) คือ อำนาจการปกครองกระจัดกระจายอยู่หลายขั้วหลายศูนย์ นอกจากนั้นยังมีรูปแบบของระบบประธานาธิบดีซึ่งรวมบทบาทของประมุขและของนายกรัฐมนตรีไว้ในคนๆ เดียวกัน จุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีคุณสมบัติตรงที่มีความเรียบง่าย (Simplicity) ไม่กำหนดรายละเอียดมากมาย แต่เปิดทางกว้างๆ ไว้เพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต


การปกครองฝรั่งเศส : ระบบสาธารณรัฐที่ 5 จากยุคสมัยการปฏิวัติ ค.ศ.1789 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่น้อยกว่า 9 ฉบับ ในรอบ 200 ปี เนื่องด้วยอุปนิสัยของชาวฝรั่งเศสที่ชอบลัทธิอุดมการณ์ และชอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ในสมัยสาธารณรัฐที่ 4 ซึ่งใช้รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง เสถียรภาพของคณะรัฐบาลมีปัญหามากที่ ในช่วงเวลา 12 ปี ของสาธารณรัฐนี้ (1946-1958) มีรัฐบาลถึง 13 ชุด แต่ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 5 รัฐบาลแต่ละชุดอยู่ได้ยั่งยืนมาก และนี่ก็ปกครองกันมาถึง 32 ปี แล้วยังมีเถียรภาพดีอยู่ ฉะนั้น ทั่วโลกจึงสนใจรัฐธรรมนูญฉบับที่นายพลเดอโกลได้จัดตั้งขึ้นมากว่า มีเคล็ดลับที่ทำให้ชนชาติฝรั่งเศสที่มีอารมณ์ผันแปรง่าย เดินขบวนง่าย กบฏก็ง่าย ปฏิวัติก็ง่าย แต่บัดนี้กลับสงบเงียบ และยังไม่มีทีท่าอยากจะเปลี่ยนไปเป็นระบบอื่น ประเทศฝรั่งเศสในสมัยเริ่มแรกก็มีระบบการปกครองคล้ายคลึงกับของอังกฤษในสมัยยุคศักดินา คือ อำนาจการปกครองกระจัดกระจายไปอยู่ที่ขุนนางต่างๆ กษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางมีความอ่อนแอกว่าของอังกฤษมาก บางยุคสมัยปกครองได้เพียงครึ่งหนึ่งของประเทศในปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะสภาพการณ์เช่นนั้น จึงทำให้กษัตริย์ฝรั่งเศสมุ่งสร้างอำนาจส่วนกลางมากจนกระทั่งในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่14 กษัตริย์ฝรั่งเศสที่ชาวยุโรปถือกันว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ปกครอง คือ มีอำนาจมาก ได้จัดระเบียบการคลัง การปกครองทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพสูง ถือกับทรงกล่าวเกี่ยวกับพระองค์เองว่า “รัฐคือตัวข้าพเจ้า” หรือ “ตัวข้าพเจ้าคือรัฐ” และเพราะความเข้มแข็งของพระมหากษัตริย์ ความเป็นอยู่ของขุนนางก็เริ่มเหินห่างจากประชาชนในชนบท หลังจากในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็ไม่มีกษัตริย์ที่ทรงเข้มแข็งและอัจฉริยะ และเกิดปัญหารายจ่ายสูงกว่ารายได้ เพราะการสงครามนอกประเทศ ระบบการคลังเริ่มล้มเหลว ขณะเดียวกัน ขุนนางไม่ได้เอาใจใส่ต่อการปรับปรุงที่ดินของตน คอยแต่จะรีดภาษีและส่วยของราษฎร ทำให้เกิดระบบการกดขี่และระบบอภิสิทธิ์มากมาย ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจลดน้อยลง ประจวบกับการตื่นตัวทางความคิด นักปรัชญาเมธีเริ่มเผยแพร่ลัทธิ และแนวคิดใหม่ในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ระบบการปกครองก็ไม่สามารถจะปรับตัวให้ทันกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
ในที่สุดได้เกิดการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ในปี ค.ศ.1789 และเกิดการต่อสู้และความรุนแรงทางความคิดระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ในช่วง 1789-1795 ทำให้ชาวฝรั่งเศสแตกแยกทางความคิด และด้วยความเป็นชนชาติเชื้อสายละตินซึ่งมีอารมณ์ศรัทธาในแนวคิดของตนเองอย่างมาก จึงไม่มีการประนีประนอมกัน
ความขัดแย้งกันและปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ จะข้อนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณา โดยจะเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญปี 1946 ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายมีอิทธิพลในการร่าง กับรัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ.1958 ซึ่งนายพลชาร์ล เดอ โกล และนักการเมืองฝ่ายขวามีอิทธิพลในการร่าง

ประการแรก ควรจะตั้งเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศสเกิดจากการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อุดมการณ์ของนักปฏิวัติจึงมีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญนี้ และฉบับอื่นๆ ที่ตามมา อุดมการณ์เหล่านี้ สรุปเป็นคำขวัญได้ 3 วลี คือ ความเสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 4 และที่ 5 นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนและเจตนาที่จะสร้างระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง การปกครองของประชาชน เพื่อประชาชน อุดมการณ์ทางการเมืองเหล่านี้ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอังกฤษหรืออเมริกา

ประการที่สอง เนื่องจากฝรั่งเศสเริ่มประวัติศาสตร์สมัยใหม่โดยการล้มระบบกษัตริย์ ฉะนั้นระบบสาธารณรัฐจึงเป็นทางเลือกที่ต้องเลือก ในระบบของฝรั่งเศส จะแยกอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีออกจากอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเ มื่อได้แยกบทบาทเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของประธานาธิบดีซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายๆ กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และส่วนของนายกรัฐมนตรีจึงมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี

การร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ เพื่อแบ่งแยกบทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ของสองตำแหน่งนี้ จึงมีปัญหาอยู่เสมอในรัฐธรรมนูญปี 1946 ของสาธารณรัฐที่ 4 อำนาจของประธานาธิบดีจะน้อยกว่าในรัฐธรรมนูญปี 1958 ของสาธารณรัฐที่ 5

ประการแรก ในฉบับ 1946 รัฐสภาเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ในฉบับ 1958 ผู้เลือกตั้งคือ สมาชิกของรัฐสภา นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งทำให้ฐานอำนาจของประธานาธิบดีของสาธารณรัฐที่ 5 กว้างกว่าในสมัยสาธารณรัฐที่ 4 ต่อมาในปี ค.ศ.1962 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ประชาชนผู้มีคุณสมบัติเลือกตั้งเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ซึ่งทำให้ฐานอำนาจของประธานาธิบดีเป็นอิสระจากรัฐสภา

ประการที่สอง ในรัฐธรรมนูญ 1946 ประธานาธิบดีมีอำนาจเสนอตัวนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่การแต่งตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกรัฐสภาเห็นชอบด้วยเสียก่อน แต่ในรัฐธรรมนูญ 1958 ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง นอกจากนั้นประธานาธิบดีจะมีบทบาทที่เด่นชัดในเรื่องการต่างประเทศและมีอำนาจประกาศสภาวะฉุกเฉิน อำนาจที่จะขอประชามติทั่วประเทศในเรื่องที่สำคัญของชาติ เรื่องเกี่ยวกับประชาคมยุโรป สนธิสัญญาระหว่างประเทศ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ประการที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 1946 ยังเป็นความสัมพันธ์ที่คล้ายกับรัฐธรรมนูญอังกฤษ กล่าวคือ รัฐสภาจะเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีและตัวรัฐมนตรีก็มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แต่ได้ฉบับ 1958 ได้แบ่งแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติคล้ายกับของสหรัฐ ซึ่งก็คือ ผู้ที่เป็นรัฐมนตรีต้องลาออกจากสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ในฉบับปี 1946 ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แต่ในฉบับ 1958 ได้ให้อำนาจทั้งสองสภาที่จะอภิปรายไม่วางใจ ทั้งนี้ทั้งสองฉบับกำหนดไว้เหมือนกันว่าก่อนลงคะแนนเสียงต้องใช้เวลา 24 ชั่วโมง หลังจากยุติการอภิปรายไปแล้ว เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสทบทวนความรู้สึกต่างๆ

ในรัฐธรรมนูญฉบับ 1946 ได้ให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีที่จะเสนอให้ประธานาธิบดียุบสภาได้ แต่จะกระทำไม่ได้ในช่วง 18 เดือนแรก ยกเว้นแต่สภาผู้แทนฯ ได้เสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 ครั้ง ในช่วง 18 เดือนนี้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้ลดช่วงเวลา 18 เดือน เหลือเพียง 1 ปี

ประการที่สี่ ได้มีการแก้ไขจากแต่เดิมที่มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทน ให้มีสองสภา แต่ก็ยังกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจน้อยลงให้เป็นเพียงกลั่นกรองงานเท่านั้น

โดยสรุป รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับของฝรั่งเศสแตกต่างกันในแง่การมอบอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีซึ่งมีมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น อำนาจในการยุบสภา อำนาจการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อำนาจในการประกาศสภาวะฉุกเฉิน และอำนาจในการควบคุมนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ ประกอบกับฐานอำนาจของสาธารณรัฐที่ 5 มีบทบาทในฐานะผู้นำของประเทศเด่นชัดมากขึ้น ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือ การแบ่งแยกอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ ทำให้รัฐบาลเป็นอิสระจากแรงกดดันของรัฐสภามากขึ้น วุฒิสภาก็มีความเป็นอิสระจากสภาผู้แทนฯ มากขึ้น (ซึ่งแต่เดิม สภาผู้แทนฯ สามารถเลือกสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 6 ของจำนวนทั้งหมด) เพราะมีฐานอำนาจจากการเลือกตั้งจากภูมิภาค จังหวัด และเทศบาล
การกำหนดรัฐธรรมนูญที่เน้นอำนาจบริหารมากขึ้น และวุฒิสภาก็ถ่วงดุลกับสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้เป็นผลงานของนายพลเดอ โกล และพรรคการเมืองฝ่ายขวา และฝ่ายกลางซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้การเมืองฝรั่งเศสมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
ในสาธารณรัฐที่ 4 ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบอัตราส่วน ทำให้เกิดพรรคการเมืองมากมาย แต่ในสาธารณรัฐที่ 5 ใช้ระบบแบ่งเขต เขตละ 1 คน ให้มีการลงคะแนนเสียงได้ 2 ครั้ง ระบบนี้ทำให้จำนวนพรรคน้อยลง และยังทำให้ระบบการเมืองของฝรั่งเศสพัฒนาขึ้นไปมากกว่าภายหลังสงคราม จำนวนพรรคการเมืองลดลงจากเดิมในปี ค.ศ.1956 ซึ่งมีพรรคการเมือง 16 พรรค ได้ลดลงเหลือ 5 พรรค ใน คศ.1967 จากแต่เดิมที่พรรคมุ่งหาอิทธิพลให้แก่พรรคตนเอง โดยไม่สามารถจะจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ในระบบใหม่พรรคเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น และมุ่งจะจัดตั้งรัฐบาล

วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540



วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น แม้จะทราบกันดีแล้วว่าวิกฤตการณ์นี้มีอยู่และมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับขอบเขตและทางแก้ไข อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ก็เผชิญกับปัญหาค่าเงินทรุดเช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไนและเวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศที่กล่าวมานี้จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167% ในสี่ประเทศใหญ่อาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2536-38 ก่อนจะขึ้นไปสูงถึง 180% ในช่วงที่วิกฤตการณ์เลวร้ายที่สุด ในเกาหลีใต้ สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% และแตะระดับสูงสุดที่ 40% ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่อยู่ทางเหนือได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มีเพียงในไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่หนี้สัดส่วนบริการต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในเอเชียได้ออกนโยบายการเงินที่ดูแล้วสมบูรณ์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ก้าวเข้ามาเพื่อริเริ่มโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินในเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ความพยายามที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับโลกได้ช่วยรักษาเสถียรภาพสถานการณ์ในประเทศในอินโดนีเซียได้เพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี ท่ามกลางการจลาจลที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลงอย่างร้ายแรง ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541 ในปีเดียวกันนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ มีเพียงสิงคโปร์และไต้หวันเท่านั้นที่พิสูจน์แล้วว่าเกือบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในวิกฤตการณ์เลย แต่ทั้งสองประเทศก็ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามปกติ สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542 นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว
ประวัติ
จนถึง พ.ศ. 2540 ทวีปเอเชียได้ดึงดูดการไหลเข้าของทุนรวมเกือบครึ่งเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รักษาอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาผลตอบแทนในอัตราที่สูง ผลคือ เศรษฐกิจในภูมิภาคมีเงินไหลเข้าในปริมาณมากและมูลค่าสินทรัพย์สะสมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจภูมิภาคอย่างไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คิดเป็น 8-12% ของจีดีพี ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สัมฤทธิ์ผลดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงโดยสถาบันการเงิน ซึ่งรวมไปถึงไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ปาฏิหารย์เศรษฐกิจเอเชีย"

ในปี พ.ศ. 2537 นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง พอล ครักแมน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งโจมตีแนวคิด "ปาฏิหารย์เศรษฐกิจเอเชีย" เขาโต้แย้งว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกนั้นตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยรวมในด้านผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างจำกัดหรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ครักแมนแย้งอีกว่ามีเพียงการเติบโตในผลิตภาพปัจจัยรวม มิใช่การลงทุน เท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งในระยะยาวได้ หลังจากวิกฤตการณ์การเงินอุบัติขึ้น หลายคนมองว่าครักแมนสามารถรู้ล่วงหน้า แม้เขาว่า เขาไม่ได้ทำนายถึงวิกฤตการณ์หรือคาดการณ์ความลึกของมันได้

การบริหารงานบุคคล


แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การที่จะ ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยทางด้านบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในบรรดาทรัพยากรทั้งหมด เพราะสามารถที่จะจัดการหรือหา วิธีที่จะดำเนินการให้องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นบุคลากรจึงเป็น ที่มาของความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การอีกด้วย ซึ่งในการบริหารประเทศก็ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ให้ "คน" เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ให้มีขีดความสามารถเพื่อที่จะพัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยการระดม คน เงิน วัสดุ เทคโนโลยี และวิธีการจัดการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนให้ มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ถ้าองค์การใดมี "คน" ดีและมีประสิทธิภาพใน การทำงานสูง คนหรือข้าราชการหรือพนักงานก็จะสามารถระดมเงิน วัสดุ มาให้กับ องค์การ และสามารถบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เฟลิกซ์ เอ ไนโกร (Nigro, 1977, 28) ได้ให้ความหมาย การบริหารงาน บุคคล หมายถึง วิธีการที่จะสรรหาบุคคลเข้ามาทำงานและพัฒนาความสามารถของบุคคล เหล่านั้นรวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมในองค์การ เพื่อให้บุคคลนั้นทำงานได้เต็มความ สามารถทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
เสนาะ ติเยาว์ (2514, 3) ได้ให้ความหมาย การบริหารงานบุคคล หมายถึง การจัดระเบียบและดูแลบุคคลให้ทำงาน เพื่อให้บุคคลใช้ประโยชน์และความรู้ ความ สามารถของแต่ละคนให้มากที่สุด ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
สมาน รังสิโยกฤษฎ์ (2522, 1 - 2) ได้ให้ความหมาย การบริหารงานบุคคล หมายถึง กระบวนการเกี่ยวกับการวางนโยบาย การวางแปน การวางระเบียบและข้อ บังคับเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การหรือหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาได้ใช้ ประโยชน์ และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ กระบวนการที่ว่านี้ จึงรวมหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งหมดนับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน จนกระทั่งออกจากงาน
สมพงษ์ เกษมสิน (2526, 6) ได้ให้ความหมาย การบริหารงานบุคคล หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การดูแลบำรุง รักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน
ธงชัย สันติวงษ์ (2526, 35 - 37) ได้แบ่งกระบวนการ การบริหารงานบุคคล ออกเป็นส่วนสำคัญ ๆ ดังนี้
1. การออกแบบงานและการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน (task specialization process)
2. การวางแผนกำลังคน (manpower planning process)
3. การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมิน (induction and appraisal - process)
5. การอบรมและการพัฒนา (training and development process)
6. การจ่ายตอบแทน (compensation process)
7. การทะนุบำรุงรักษาทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและแรงงานสัมพันธ์ (health, safety maintenance process and labor relations)
8. การใช้วินัยและการควบคุมตลอดจนการประเมิน (discipline, control and evaluation process)
ซึ่งกระบวนการบริหารงานบุคคลทั้ง 8 ประการดังกล่าว ในทางปฏิบัตินั้น การปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารงานบุคคลจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนทุกด้าน และด้องมีการดำเนินการทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน จะเห็นว่าการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญต่อองค์การมากที่สุด เนื่องจาก การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการบริหารที่จัดการเกี่ยวกับบุคคลที่ นำมาใช้ในองค์การ และที่มีอยู่แล้ว โดยเริ่มจากการวางแผน การสรรหาบุคคลเข้ามา ทำงาน การทำนุบำรุงรักษา รวมทั้งการดำเนินการเมื่อบุคคลนั้นพ้นจากไป ซึ่งองค์การ ใดจะบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญ ก็คือ "คน หรือ บุคลากร" ในองค์การ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการบริหารงาน และเป็นที่ ยอมรับกันว่ามนุษย์หรือคน เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีค่าและสำคัญที่สุดตาม หลักการบริหาร จึงได้มีนักวิชาการบริหารหลายท่านเริ่มให้ความสนใจที่จะศึกษาถึง พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ ซึ่งแต่เดิมแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารบุ่งไปที่ประสิทธิภาพ ในการผลิตขององค์การ ขาดการให้ความสำคัญต่อมนุษย์ผู้ปฏิบัติงานในองค์การ มองมนุษย์เป็นเสมือนเครื่องจักร ไม่มีชีวิตจิตใจ สิ่งจูงใจที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลต่อองค์การ ก็คือ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ต่อมานักวิชาการจึงเปลี่ยนแนว ความคิดการบริหารโดยยึดแนวความคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) คือ การบริหารที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญทางด้านจิตใจกับมนุษย์ในองค์การมากขึ้น โดย เชื่อว่าปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลโดยแท้จริงแล้ว เป็นปัจจัยที่มีผลและมีความสำคัญเป็น อย่างมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อที่ว่าคนเป็นเครื่องจักรนั้นจึงเป็นความ เชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง เพราะนอกจากเงินแล้วคนยังมีความต้องการทางสังคมและความ ต้องการอื่น ๆ ที่มิใช่เงินด้วย (ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์ 2535, 24) นักมนุษยสัมพันธ์ส่วนใหญ่ จึงได้เริ่มศึกษาตามวิธีการพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีความ เชื่อว่าปัจจัยที่สร้างประสิทธิภาพในการทำงานที่ถูกด้อง คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคล ซึ่ง เทคนิคและวิธีการบริหารบุคคลในองค์การมีทั้งในระดับจุลภาค และระดับมหภาค เช่น การสร้างแรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลให้เกิดประสิทธิภาพทางการบริหารงานในองค์การ ทำให้บุคคล หรือมนุษย์ซึ่ง ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น (ติน ปรัชญพฤทธ 2534, 19)
ในการบริหารงานขององค์การนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องนำปัจจัยในการบริหาร อันได้แก่ คือ คน (men) เงิน (money) วัสดุสิ่งของ (material) และการจัดการ (management) หรือที่เรียกว่า "4 m" มาใช้ในการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุ วัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ปัจจัยที่ สำคัญที่สุดในหลักการบริหาร ก็คือปัจจัยกำลังคน เพราะคนหรือมนุษย์มีความต้องการ และแนวความคิดเป็นของแต่ละคน เมื่อมนุษย์มีโอกาสรวมกลุ่มกันทำงานในองค์การ จึง อาจเกิดความล้มเหลวขึ้นได้ เนื่องจากมีความขัดแย้งกันในด้านความคิด ในทุกองค์การ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดระเบียบและผสมผสานกิจกรรมของบุคคลต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายของส่วนรวมเพื่อให้องค์การดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ดังนั้นการบริหารงานในองค์การจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ จำเป็นต้องให้ความ สนใจทั้งในต้านโครงสร้าง คน กระบวนการ และสิ่งแวดล้อม (อุทัย เลาหวิเชียร 2533, 5) โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากบุคลากรเป็นสิ่งมี ชีวิต ไม่ใช่เครื่องจักร "คน" เป็นมนุษย์ที่มีความคิด มีความเสก มีจิตใจ มีอารมณ์ ต่าง ๆ ตามสถานการณ์ และมีความต้องการในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละคน การที่ จะให้คนหรือมนุษย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัย หลายอย่าง การ "บำรุงขวัญ" หรือ "ความพึงพอใจในการทำงาน" ก็เป็นปัจจัย สำคัญอันหนึ่ง และขวัญของผู้ปฏิบัติงานจะดีขึ้น ถ้าหากเขาได้ทำงานที่เหมาะสมกับ ความสามารถ มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้า ในอาชีพการงาน ได้รับการยอมรับกับเพื่อนร่วมงาน ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม จากหัวหน้า ได้รับการยกย่องชมเชยเมื่อทำดี มีส่วนทราบถึงนโยบายแผนงาน การ เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวต่าง ๆ ภายในหน่วยงานของเขา และขวัญกำลังใจของคน ทำงานจะเลวลงถ้าหากเขาทำดีแล้วไม่ได้ดี บรรยากาศภายในองค์การมีการแตกร้าว อิจฉาริษยา มีการจับผิดซึ่งกันและกัน ผู้บังคับบัญชาไม่ให้เสรีภาพในการทำงานตาม สมควร มีการขัดแย้งกันในหมู่คนทำงาน ก่อให้เกิดการลาออกจากงานหรือแยกย้ายไป อยู่ที่อื่น (พร้อมรินทร์ พรหมเกิด 2539, 2 - 3)

ดังนั้นหากองค์การใดต้องการที่จะให้การดำเนินงานบรรลุวัตลุประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างแรงจูงใจหรือขวัญในการทำงานให้กับบุคลากร เพื่อ ให้บุคคลเหล่านี้มีความรู้สึกเต็มใจที่จะปฏิบัติงาน และอุทิศตนเพื่อความสำเร็จของงาน ขององค์การอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะเมื่อ บุคลากรในองค์การมีแรงจูงใจ และความพึงพอใจในงานหรือขวัญในการทำงานดี ย่อมจะ มีผลให้เกิดประสิทธิภาพของงานดีขึ้น ในทางตรงข้ามถ้าบุคลากรในองค์การขาดแรงจูงใจ และความพึงพอใจในงานหรือขวัญในการทำงาน ย่อมทำให้ทำให้ขาดประสิทธิภาพของ งานได้