วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดจากแนวคิดเรื่องปฏิรูปการเมือง เริ่มต้นจากกลุ่มนักวิชาการ ได้เผยแพร่แนวคิดผ่านสื่อมวลชน จึงเกิดกระแสในหมู่นักการเมืองและประชาชนทั่วไป โดยในปี พ.ศ. 2537 ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อปฏิรูประบบการเมืองทั้งระบบ โดยยึดระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นกรอบหลัก
ต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้คำนึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งเน้นให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมืองให้ระบบการเมืองมีความชอบธรรม ทั้งยังปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและสามารถสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยพลังใจของปวงชนชาวไทยที่สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์ในร่างรัฐธรรมนูญด้วยความเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภา จึงทำให้รัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบพิจารณาอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีการตราไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ประกอบด้วยทั้งหมด 12 หมวด 336 มาตรา ซึ่งรวมทั้งบทเฉพาะกาล ได้บัญญัติถึงโครงสร้างของระบบการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันโดยบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ เช่น
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
2. รัฐธรรมนูญมีการกำหนดความสำคัญขององค์กรทางการเมืองระบุอำนาจหน้าที่
3. รัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของประชากรในรัฐ

อำนาจอธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีหลักการสำคัญว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ

อำนาจนิติบัญญัติ ประเทศไทยมีฝ่ายนิติบัญญัติเรียกว่า รัฐสภา
รัฐสภา คือ องค์กรที่มีหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ (การบัญญัติกฎหมาย) รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน เป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้ รัฐสภามีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ
1) หน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย กฎหมายที่ตราขึ้นโดยการแนะนำและยินยอมของรัฐสภา คือร่างพระราชบัญญัติแลหะร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
2) หน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ของสมาชิกผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ การเปิดอภิปรายทั่วไป และการตั้งกระทู้ถาม
(1) การเปิดอภิปรายทั่วไป กระทำได้โดย 2 วิธี คือ
ก. การเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ กระทำได้โดยสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ กระทำได้โดยสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง โดยไม่มีการลงมติ
(2) การตั้งกระทู้ถาม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้
3) การให้ความเห็นชอบ สมาชิกรัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อให้ความเห็นชอบในเรื่อง ต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2) การสืบราชสมบัติ
(3) การปิดสมัยประชุม
(4) การให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(5) การให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(6) การประกาศสงคราม
อำนาจบริหาร

คณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคนและรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน มีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คุณสมบัติของรัฐมนตรี คือ

1) มีสัญชาติไทยให้ตรวจสอบ
2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3) การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
4) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วไม่เกิน 1 ปี หรือสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเพราะถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
5) รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ภายใน 15 วัน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันไม่ได้
อำนาจตุลาการ

ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้การพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
การจัดตั้งศาลต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ประเภทของศาลมี 4 ประเภท ประกอบด้วย
1) ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ กรณีที่องค์กรนั้น ๆ มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ เป็นต้น
2) ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือนและการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ต้องได้รับความเห็นชอบจาก “คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม”
3) ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมาย (มาตรา 276)
4) ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐ มีองค์ประกอบ คือ ดินแดน ประชาชน อำนาจอธิปไตย รัฐบาล กฎเกณฑ์สำหรับการปกครองประเทศ ควรเป็นเรื่องที่สำคัญแน่นอนพอสมควร ไม่ควรถูกแก้ไขโดยง่ายและควรเป็นแม่บทให้กับให้กฎหมายอื่นๆคล้อยตาม รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายสูงสุดความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ : รัฐธรรมนูญต้องเป็นลายลักษณ์อักษรส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ประวัติแนวคิดในการจัดทำรัฐธรรมนูญสมัยแรก การออกข้อกำหนดส่วนใหญ่กษัตริย์จะออกเอง กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลักษณะราชาธิปไตย ถือว่ายังไม่มีรัฐธรรมนูญสมัยที่สอง กฎหมายรัฐธรรมนูญเริ่มชัดเจนขึ้นเช่นการจำกัดขอบเขตอำนาจของผู้ปกครองประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลักษณะอภิชนาธิปไตยสมัยที่สาม เริ่มมีรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งแยกอำนาจและประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร อันได้แก่ การจำกัดอำนาจรัฐ การวางกฎการปกครองประเทศจากความสมัครใจของราษฎรปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และราษฎรของฝรั่งเศส ข้อ 16”สังคมใดที่ไม่มีการประกันสิทธิหรือไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ สังคมนั้นหาได้ชื่อว่ามีรัฐธรรมนูญไม่” สมัยที่สี่ (ปัจจุบัน) เริ่มหย่อนลงเป็นเพียงคำกลางๆสำหรับใช้เรียกกฎหมายที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปกครองประเทศเท่านั้น

ประเภทของรัฐธรรมนูญ
แบ่งตามรูปแบบของรัฐบาล เช่นรัฐเผด็จการ รัฐขุนนาง รัฐประชาธิปไตย หรือ แบ่งตามรูปแบบรัฐ เช่นรัฐเดี่ยว รัฐรวมหรือ แบ่งตามวิธีการบัญญัติเช่น บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ แบ่งตามวิธีการแก้ไข เช่นแก้ไขง่าย แก้ไขยาก หรือ แบ่งตามกำหนดเวลาในการใช้ เช่น ชั่วคราว ถาวร
ในปัจจุบันจะแบ่งตามความเป็นจริง โดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้รัฐธรรมนูญ ความมุ่งหมายให้มี จึงแบ่งได้เป็น
- รัฐธรรมนูญซึ่งมีกฎเกณฑ์ตรงต่อสภาพของสังคม เช่นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย แบบสังคมนิยม
- รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองไว้เกินความจริง
- รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองไว้ตบตาคน



การจัดทำรัฐธรรมนูญ
อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นมักเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองหรือบุคคลที่มีฐานะให้มี เรียกว่า รัฎฐาธิปัตย์ แบ่งได้ดังนี้
1. ประมุขของรัฐ (ช่วยให้รอดพ้นจากการปฏิวัติ , สร้างบารมี)2. ผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี
3. ราษฎรในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี(ราษฎรร่วมกันก่อการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
4. ประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติ หรือราษฎรในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มีร่วมกัน 
5. ผู้มีอำนาจจากองค์กรภายนอกในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี (รัฐเจ้าอาณานิคมเดิม)เหตุผลที่การตรารัฐธรรมนูญขึ้นมาบังคับใช้ใหม่ในประเทศไทย เป็นการตราร่วมกันของประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติ คือ - คณะปฏิวัติต้องการอาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทรงยินยอม - คณะปฏิวัติต้องการอาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้นานาประเทศรับรองรัฐบาลใหม่
- คณะปฏิวัติต้องการให้เห็นความสำคัญของสถาบันประมุขเดิมว่าไม่เปลี่ยนแปลงอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ 
1. โดยบุคคลคนเดียว
2. โดยคณะบุคคล
3. โดยสภานิติบัญญัติหรือสภาร่าง 
ผลดีของการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างที่ มาจากบุคคลหลายวงการ ทำให้ความเห็นแตกต่างกัน ทำงานเฉพาะด้านทุ่นเวลาลงได้มากกว่าสภานิติบัญญัติ สานประประโยชน์ทุกฝ่าย 
การจัดทำรัฐธรรมนูญ 
1. นำหลักเกณฑ์มาบัญญัติ เช่นคิดเอง หยิบยืมมารัฐธรรมนูญที่เป็นเจ้าตำรับเวลานี้มี 4 ฉบับคือ ของอังกฤษ สหรัฐ ฝรั่งเศส รุสเซีย
หลักเกณฑ์สำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐ : การปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน หลักเกณฑ์สำคัญของรัฐธรรมนูญรุสเซีย : ใครไม่ทำงานก็อย่าได้มีกิน 
2. ความสั้นยาวของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 
3. จำนวนฉบับของรัฐธรรมนูญ หากมีรัฐธรรมนูญขึ้นอีกบางครั้งจะเรียกว่า บทแก้ไขเพิ่มเติม(สหรัฐ) ภาคผนวก(อิหร่าน) ในไทยเราจะประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทุกครั้ง 
4. การให้ประชาชนแสดงความเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ โดยผ่านสื่อหรืออภิปรายแก่สาธารณชน , ให้ประชาชนแสดงประชามติให้ผู้แทนของประชาชนออกเสียงเห็นชอบกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศซึ่งแยกออกมาบัญญัติรายละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญ

ข้อดี ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จในเวลาอันสั้น , รัฐธรรมนูญมีรายละเอียดน้อยจดจำง่าย แก้ไขกฎเกณฑ์ในกฎหมายประกอบไม่ต้องแก้ในรัฐธรรมนูญ , วางรายละเอียดกฎเกณฑ์การปกครองให้เหมาะสมในบ้านเมืองเป็นคราวๆ ไป 

การแก้ไขและการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขถ้อยคำ การเพิ่มเติมข้อความใหม่ การเปลี่ยนทั้งฉบับ (ชั่วคราวเป็นถาวร) จะห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาดคงทำไม่ได้และจะเป็นการยั่วยุให้ผู้ประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนเป็นยกเลิกแทน (ล้มล้าง)
ดังนั้นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้บ้างแต่แก้ไขได้ยาก ไม่ใช่แก้ไขโดยพร่ำเพรื่อ - ควบคุมผู้เสนอแก้ไข ประมุขของรัฐเสนอแก้ไข ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติ 1ใน 3 ก่อนสภานิติบัญญัติเสนอแก้ไข ต้องได้รับการรับรองจากที่ประชุมประชาชนเสนอแก้ไข ต้องมีรายชื่อ 5 หมื่น - ควบคุมผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไข ต้องได้รับเห็นชอบผ่านด้วยเสียงข้างมากในแต่ละสภาก่อน 
- ควบคุมวิธีการแก้ไข ต้องลงมติด้วยเสียงมากเป็นพิเศษ 
- ควบคุมระยะเวลาการแก้ไข กำหนดระยะเวลาว่าจะแก้ไขได้เมื่อใด 
- การให้ประมุขของรัฐเข้ามามีส่วน คือการลงนามในรัฐธรรมนูญที่แก้ไขการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทย ผู้ริเริ่ม (คณะรัฐมนตรีหรือสภา1ใน 3) ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม พิจารณาแก้ไข (2 สภา) 3 วาระ คือ
1. รับหลักการ
2. พิจารณาเรียงมาตรา
3. ประกาศใช้ (กษัตริย์ลงนาม)

การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2 วิธี คือ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ และนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ เมื่อมีหลักการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศหรือไม่สอดคล้องกับจิตใจของประชาชนผู้มีอำนาจจัดทำก็อาจจัดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้ (ฉบับเก่าจะถูกยกเลิกในวันที่ฉบับใหม่ประกาศใช้)
นอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร การปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับพลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ และจัดตั้งระบอบการปกครองขึ้นใหม่ รัฐประหาร หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับพลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ แต่มิได้จัดตั้งระบอบการปกครองขึ้นใหม่ คงมีแต่รัฐบาลใหม่เท่านั้นคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารเมื่อกระทำการสำเร็จ ย่อมถือว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์ สถาบันการเมืองย่อมถูกยกเลิกไปด้วย ไม่จำเป็นต้องออก พ.ร.บนิรโทษกรรม (โดยส่วนใหญ่ทางปฏิบัติผู้ร่าง พ.ร.บ จะออกนิรโทษกรรมให้) แถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ไม่มีผลในกฎหมาย ประกาศของคณะปฏิวัติที่ใช้อำนาจในทางบริหารและตุลาการ มีศักดิ์และฐานะเป็นกฎหมาย 
ข้อสังเกต
1. คำสั่งทุกฉบับลงนามโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ ปกติกษัตริย์จะลงพระปรมาภิไธย
2. ประกาศจะใช้บังคับได้เสมอไปจนกว่าจะมีกฎหมายเท่ากันหรือสูงกว่ามาเปลี่ยนแปลง
3. ศักดิ์ของประกาศพิจารณาจากเนื้อหา การแก้ไขหรือยกเลิก โดยกฎหมายเท่ากันหรือสูงกว่า
4. ประกาศบางฉบับไม่เป็นกฎหมาย (แจ้งให้ทราบรายชื่อคณะปฏิวัติ) โครงร่างของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย คำปรารภ และส่วนที่เป็นเนื้อหาคำปรารภหมายถึงบทนำเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งอาจแสดงเหตุผลแห่งการมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นคำปรารภเป็นคนละส่วนกับตัวบทมาตรา แต่เป็นเครื่องมือช่วยในการตีความหรือค้นหาเจตนารมณ์ขอบทมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญ
ข้อความในคำปรารภ มักจะมี ลักษณะดังนี้

1. ที่มาหรือจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
2. ความจำเป็นที่ต้องมีรัฐธรรมนูญ
3. วัตถุประสงค์ในรัฐธรรมนูญ4. อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
5. ประวัติของชาติ
6. ข้อความประกาศสิทธิและเสรีภาพของราษฎร
รัฐธรรมนูญมักมีเนื้อความว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์การปกครองประเทศ กฎเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติม ความเป็นกฎหมายสูงสุด หน้าที่พลเมือง แนวนโยบายแห่งรัฐ บทเฉพาะกาล รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ 
รูปของรัฐ แบ่งเป็น
1. รัฐเดี่ยว มีการใช้อำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย)ทั้งภายในและภายนอกโดยองค์การเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ 
2. รัฐรวมสองรัฐ มีประมุขร่วมกัน ใช้อำนาจภายนอกร่วมกันแต่ใช้อำนาจภายในแยกจากกัน 
3. รัฐรวมหลายรัฐ สหพันธรัฐหรือสหรัฐ เป็นการรวมตัวกันของมลรัฐ เกิดเป็นรัฐใหม่เรียกว่าสหรัฐ เช่นอเมริกา มาเลเซีย แคนาดา สหรัฐ มีรัฐบาลกลาง มีรัฐสภา(ตรากฎหมายใช้ทั่วสหรัฐ) มีศาลสูง(ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างมลรัฐ) มีอำนาจเด็ดขาดทางทหาร เศรษฐกิจ การเงินการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีฐานะเป็นบุคคล มีสัญชาติเดียวและดินแดนเดียว มลรัฐ มีรัฐบาลมลรัฐ สภามลรัฐ ศาลมลรัฐ รัฐธรรมนูญของมลรัฐ (ขัดกับสหรัฐไม่ได้) การที่เป็นรูปแบบสหรัฐได้ ต้องมีรัฐตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป แสดงเจตนาอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน แบ่งปันอำนาจของรัฐบาลกลางและอำนาจของรัฐบาลมลรัฐ (มีอำนาจเคียงคู่กัน) ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวและเป็นราชอาณาจักร คือ มีดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศ มีองค์กรและวิธีการใช้อำนาจอธิปไตยในลักษณะเดียวกันทั้งประเทศ ราชอาณาจักรหมายถึงรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข



รูปแบบของประมุขของรัฐ
ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี การปกครองแบบสาธารณรัฐจะมีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐและประมุข
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน รัฐมนตรีต่างๆเป็นเพียงที่ปรึกษา ฝ่ายบริหารไม่สามารถตั้งกระทู้ถามไม่สามารถเปิดการอภิปรายไม่วางใจ ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี ไม่อาจยุบสภาได้ แต่มีระบบคานและดุลอำนาจ กล่าวคือ ประธานาธิบดี มีอำนาจยับยั้งกฎหมาย(Veto) ของสภาและสภามีอำนาจไม่อนุมัติงบประมาณที่ ประธานาธิบดี ขอมาก็ได้รัฐบาลแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐแต่ไม่เป็นประมุขฝ่ายบริหาร(มีนายกรัฐมนตรี) 



ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฎฐาธิปัตย์ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการพระมหากษัตริย์ในระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทุกประการเว้นแต่ที่ต้องถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร เรียกรูปแบบนี้ว่า “Constitutional Monarchy” พระมหากษัตริย์ดีกว่า ประธานาธิบดี ในข้อที่ว่าทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เป็นกลางทางการเมือง เป็นประมุขถาวร เป็นศูนย์รวมการเข้าสู่ตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ โดย ปราบดาภิเษกสืบราชสมบัติ ความเห็นชอบของรัฐสภา เลือกตั้งระหว่างผู้มีสิทธิ ประมุขของประเทศไทย เข้าสู่ตำแหน่งโดยกฎมณเฑียรบาล (กฎมณเฑียรบาลถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง) ขณะที่ไม่ประทับอยู่มีผู้สำเร็จราชการแทน มีองค์มนตรี 15 คนเป็นที่ปรึกษา ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเพราะมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชฯ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย(พระราชบัญญัติ,พระราชกำหนด,รัฐบาลในพระบาทสมเด็จฯ ฯลฯ) ทรงอยู่เหนือกฎหมาย ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ



ที่มา http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_1945.html

รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด

รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล
         อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้ คุณภาพของการปกครองและจำนวนผู้ปกครองเป็นเกณฑ์
แบ่งโดยเกณฑ์คุณภาพ
1. รูปแบบการปกครองที่ดี
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
แบ่งโดยเกณฑ์จำนวนผู้ปกครอง
เป็นการปกครองโดยคนเดียว ( The one  )
1.1  ราชาธิปไตย  (Monarchy)
ทรราชย์  (Tyranny)
เป็นการปกครองโดยคนหลายคน  ( The  many )
             เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
        2.1  อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
คณาธิปไตย (Oligarchy)
         เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
        2.3  โพลิตี้ (Polity)
        2.4 ประชาธิปไตย (Democracy)
สรุปได้เป็น 6 รูปแบบการปกครองของรัฐ ดังนี้
รูปแบบการปกครองที่ดี   เรียงตามลำดับจากดีมากไปยังดีน้อย
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี  เรียงตามลำดับจากเลวน้อยไปยังเลวมาก
2.1. ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
              อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
               ระบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทรรศนะของเขา คือ ระบบ โพลิตี้  เป็นการผสมผสานระหว่างระบบคณาธิปไตย และระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางสายกลางระหว่างการปกครองโดยคนร่ำรวย(คณาธิปไตย) กับการปกครองโดยคนจน(ประชาธิปไตย) ซึ่งจะให้โอกาสแก่ราษฎรทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการปกครองโดยยุติธรรม โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก   รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่   อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ
อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคมระหว่างคนร่ำรวยและคนจน    คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับอีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน คน2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
         ระบบการปกครองที่เลวที่สุดตามทรรศนะของเขา คือระบบ คณาธิปไตย อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตย  คือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขามีอคติต่อผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ซึ่งมาจากชนชั้นเศรษฐี
มุมมองของผู้เขียน
        รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ ระบบการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แบบ  โพลิตี้  โดยมีความเห็นสอดคล้องกับอริสโตเติล ในแง่ของระดับของชนชั้น ชึ่งข้าพเจ้ายอมรับและเชื่อมั่นในชนชั้นกลางมากที่สุด โดยเชื่อว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีเหตุผล ฉะนั้นถ้าอำนาจหรือเสียงข้างมากส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นกลาง ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติจะ ได้รับการปกป้อง หรืออาจกล่าวในมุมมองของข้าพเจ้าได้ว่าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางนั่นเอง  แต่ในความเป็นจริง  ระบบการปกครองแบบ โพลิตี้เป็นระบบในอุดมคติเนื่องจากเป็นการยากที่จะมีสังคมใดมีคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง  เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะเป็นคนยากจน
        ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยในมุมมองของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งต้องมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่   ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์หมุนเวียนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองอย่างเสมอหน้ากัน ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนนี้จะดีที่สุด ถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้น ในรูปแบบนี้ จึงอาจเป็นการผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยกับระบบตัวแทน หรือถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง ไม่มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็อาจเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่าง คณาธิปไตยกับระบบตัวแทน
        ส่วนรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ  ระบบการปกครองโดยคนเพียงคนเดียวโดยใช้อำนาจโดยไม่ชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องและไม่มีศีลธรรมซึ่งก็คือระบบ ทรราชย์  นั่นเอง

ประวัติรัฐธรรมนูญไทย

การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

   
การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
                สภาพการปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็นระยะที่สำคัญ ดังนี้
1. ระยะที่ 1 ยุคก่อนราชอาณาจักรสุโขทัย (ก่อนปี พ.ศ. 1761)
                ในระยะก่อนปี พ.ศ. 1761 อำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เขมรมีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะส่งส่วยเป็นบรรณาการให้แก่พระนครหลวง ขณะเดียวกันบางถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตัวเองแบบนครรัฐ กลุ่มชนคงไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครองบริเวณที่มีความสำคัญได้แก่  เมืองศรีเทพ บริเวณวัดจุฬามณี และบริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
2. ระยะที่ 2 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1761-1921)
                การปกครองในยุคนี้วางรากบานลงแบบการปกครองครัวเรือน จุดเริ่มต้นเริ่มที่ พ่อครัว ทำหน้าที่ปกครอง ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันเป็น เรือน หัวหน้าก็คือ พ่อเรือน หลาย ๆ เรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านมีหัวหน้าเรียกว่า พ่อบ้าน หลาย ๆ หมู่บ้านรวมกันเรียกว่า เมือง หัวหน้าคือ พ่อเมือง และพ่อขุน คือผู้ปกครองประเทศ หรือผู้ปกครองทุกเมืองนั่นเอง
                แม้ว่าอำนาจสูงสุดและเดขาดจะรวมอยู่ที่พ่อขุนเพียงคนเดียว แต่ด้วยการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง พ่อขุนปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร คือ ถือตนเองเป็นพ่อของราษฎร พ่อขุนเกือบทุกพระองค์ใช้อำนาจในลักษณะให้ความเมตตาและเสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
                อาณาเขตของสุโขทัย ในแผ่นดินสุโขทัยกว้างขวางใหญ่โตมาก
                ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า ...มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจายสคาเท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบางแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรีศรีธรรมราช ฝั่งทะเลเป็นทีแล้ว เบื้องตะวันตกรอดเมืองแอด เมืองหงสาวดีสมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองมาน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชาว...” นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า สุโขทัย เป็นราชธานีแห่งแรกของชาวไทยในแหลงอินโดจีนตอนกลาง และลักษณะการปกครองหัวเมืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                1. หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ล้อมรอบราชธานี ทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลัย (ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้) และชากังราว (ด้านตะวันตก) การปกครองหัวเมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับสุโขทัยโดยตรง
                2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานคร ที่มีผู้ดูแลโดยตรงแต่ขึ้นอยู่กับสุโขทัย ในรูปลักษณะของการสวามิภักดิ์ในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองออก หัวเมืองชั้นนอกมี แพรก อู่ทอง ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ และศรีเทพ
                3. เมืองประเทศราช  ได้แก่เมืองที่เป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองขึ้นกับสุโขทัย ในฐานะประเทศราช มีนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน เซ่า เวียงจันทน์ และเวียงคำ
3. ระยะที่ 3 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนหลาย (พ.ศ. 1921-1981)
                ในปี พ.ศ. 1921 ซึ่งตรงกับสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ของพาราจักรสุโขทัย ได้ยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบทีเมืองชากังราวที่กระมหาธรรมราชาออกถวายบังคมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นครั้งนี้ที่สำคัญ คือ การที่อยุธยาพยายามทำลายศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย คือ แบ่งแยกอาณาจักสุโขทัยเป็น 2 ส่วน คือ
                1. บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสองแคว ให้กษัตริย์ของสุโขทัยปกครองต่อไป และอยู่ในอำนาจของอยุธยาในฐานะประเทศราช
                2. บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ให้มีศูนย์กลางที่เมืองชากังราว และขึ้นตรงต่ออยุธยาขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา และประสบความสำเร็จในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สำหรับลักษณะการปกครองที่ปรากฏในระยะนี้ เป็นแบบผสมระหว่างสุโขทัย และรับอิทธิพลการปกครองแบบราชาธิปไตยของอยุธยาเข้าไปด้วย ในระยะนี้นับว่าเมืองสองแควมีความสำคัญที่สุดขณะเดียวกันเมืองสุโขทัยเก่าก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง
4. ระยะที่ 4 ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2537)
                ในยุคนี้แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งพวกเขมรเป็นผู้นำมาโดยถือว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ หรือเป็นพระเจ้าบนมนุษย์โลก ลักษณะการปกครองจึงเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือเจ้าปกครองข้า
                ในสมัยพระบรมรามาธิบดีที่ 1 ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางแบบ จตุสดมภ์ ตามแบบของขอม มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการมีหน้าที่ดังนี้...
1.  เมือง  รับผิดชอบด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย
2.  วัง  มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและตัดสินคดีความต่าง ๆ
3.  คลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านคลัง การค่าและภาษีอากรประเภทต่าง ๆ
4.  นา  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเกษตร
สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองต่าง ๆ ในระยะแรกพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลียนแบบการปกครองของสุโขทัย คือ มีหัวเมืองชันใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช แต่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทำการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ให้มีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวงมากขึ้น โดยขยายอาณาเขตให้หัวเมืองชั้นในกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม หัวเมืองชั้นนอกกำหนดเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับตามขนาดและความสำคัญของเมือง โดยทางส่วนกลางจะส่งขุนนาง หรือพระราชวงศ์ไปทำการปกครองแต่สำหรับเมืองประเทศราช ยังปล่อยให้มีอิสระในการปกครองเช่นเดิม นอกจากนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงปรับปรุงระบบบริหารขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน บริหารกิจการเกี่ยวกับเมือง วัง คลัง และนา และมีสมุหกลาโหมรับผิดขอบด้านการทหารและการป้องกันประเทศ แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราว พ.ศ. 2234  ทั้งสมุหนายกและสมุหกลาโหมต้องทำงานทั้งด้านทหารและพลเรือนพร้อมกัน โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายก ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ
                ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2437) ฐานะของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและความสำคัญของเมือง คือ
1. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองสองแคว
2. หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสวรรคโลก  เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์
3. หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์)
5. ระยะที่ 5  ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2437-2476)
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยได้ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ด้วย ได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง
                หลังจากจัดหน่วยบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็จัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ในสมัยนั้นการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่ส่วนกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ โดยได้แบ่งการปกครองประเทศ เป็นขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับไป คือ เป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองถัดจากมณฑล คือเมือง (สมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าจังหวัด) มีเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้ปกครองเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง ทั้งสามส่วนนี้ปกครองโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย อำเภอนั้นแบ่งออกเป็นตำบล มีกำนัน ซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ใหญ่บ้านเลือกเป็นผู้ปกครองตำบล แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครอง
                ในปี พ.ศ. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา มณฑลพิษณุโลก (เมืองที่อยู่ในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเยขึ้นกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
                พ.ศ. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
                พ.ศ. 2493  ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
                พ.ศ. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
                พ.ศ. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
                พ.ศ. 2447  ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
                พ.ศ. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี (มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด)
                พ.ศ. 2450  ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
                พ.ศ. 2455  ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
                พ.ศ. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
6. ระยะที่ 6 ยุคหลัง พ.ศ. 2475
                การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้นปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริการ เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกเนื่องจาก
1.  การคมนาคม สื่อสาร สะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2.  เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3.  เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4.  รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขั้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
5.  ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
         5.1   จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
         5.2   อำนาจบริหารในจังหวัดซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมใอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
         5.3   ในฐานะของกรมการจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
                ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ
กล่าวโดยสรุปการปกครองส่วนภูมิภาค อาศัยกฎหมาย 2 ฉบับ เป็นแม่บท คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218  ลงวันที่ 29 กันยายน 2519 ซึ่งกำหนดรูปแบบของหน่วยบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
7. ระยะที่ 7 ยุคปัจจุบัน
                ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้จัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2.  พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดให้รูปแบบการปกครองตำบลเป็นนิติบุคคล มีผู้แทนประชาชนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบเป็นสภาตำบล ทำหน้าที่บริหารงานของตำบล ส่วนตำบลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดได้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้จังหวัดสุโขทัยมีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 77 แห่ง โดยได้จัดตั้งดังนี้
        1.  ปี พ.ศ. 2538 จำนวน 1 แห่ง
        2.  ปี พ.ศ. 2539 จำนวน 45 แห่ง
        3.  ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 31 แห่ง
        4.  ปี พ.ศ. 2541 มีสภาตำบลจำนวน 6 แห่ง
3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้ปรับปรุงรูปแบบการบริหาร โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้ง
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสุโขทัย , 2541

การแบ่งเขตการปกครองของไทย

ประเทศไทย แบ่งปกครองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการแบ่งออกเป็น 76 จังหวัด สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค และมีการปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแหล่ง เป็นต้นว่า กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาค
แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอ ปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ และ 50 เขตในกรุงเทพมหานคร แต่ละจังหวัดมีอำเภอเมือง ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอเมืองเหมือนกัน แต่ละอำเภอสามารถแบ่งออกได้เป็นตำบล ซึ่งมีระดับเทียบเท่ากับ "แขวง" ในกรุงเทพมหานคร แต่ละตำบลสามารถแบ่งออกเป็นหมู่บ้านซึ่งเป็นเขตการปกครองที่เล็กที่สุด

การปกครองส่วนท้องถิน

ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา


การแบ่งเขตการปกครองอย่างไม่เป็นทางการ

กรุงเทพมหานครและจังหวัดอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่า "ปริมณฑล" มักเรียกรวมกันว่าเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานครได้ขยายมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทยมีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถานได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค

การแบ่งเขตการปกครองในอดีต

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458 โดยมีเส้นแบ่งจังหวัดในปัจจุบันประกอบ
เริ่มต้นแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่ที่ใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่า บริเวณจังหวัดแรก ๆ ของไทยเคยถูกเรียกว่า เมือง โดยได้มีการพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี ค.ศ. 1906 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1916
หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่า ภาค ได้รับการจัดตั้งขึ้น ในตอนแรก ประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงร่าง ในปี ค.ศ. 1951 ได้เพิ่มเป็น 9 ภาค และในปี ค.ศ. 1956 การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ก็ได้ถูกยกเลิกเช่นเดียวกัน
ในอดีต เทศบาลเคยถูกเรียกว่า สุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1898 และได้ถูกยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542
จนกระทั่ง พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอถือว่าเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่มักจะได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอ 81 แห่งได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่งจะยังไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในเวลานั้นก็ตาม

เวสต์มินสเตอร์ มหาวิหารแห่งประวัติศาสตร์และความผูกพัน



อีกไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์จะถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ของอังกฤษอีกคำรบหนึ่ง ในฐานะของสถานที่ประกอบพระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม องค์รัชทายาทลำดับที่ 2 ของประเทศ และสาวสามัญชน แคทเธอริน มิดเดิลตัน 

นับเนื่องแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน มหาวิหารใจกลางกรุงลอนดอนแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและความผูกพันกับสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา

อาคารโบสถ์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1245 ตามพระราชบัญชาของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 และนับเป็นสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมโกธิกที่สำคัญแห่งหนึ่งของอังกฤษ ในขณะเดียวกันเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นสถานที่ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ในปีในปี ค.ศ. 1066 จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระประมุขของสหราชอาณาจักรองค์ปัจจุบันในปี ค.ศ. 1953

มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ หรือชื่อเต็มว่า The Collegiate Church of St Peter, Westminsterเป็นหนึ่งในศาสนสมบัติที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจขององค์พระประมุขของประเทศ (Royal Peculiar) โดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของบาทหลวงใดๆ และเป็นสถานที่ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกมาแล้วทั้งสิ้น 38 ครั้ง อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่ที่ฝังพระศพของกษัตริย์และสมเด็จพระราชินีของอังกฤษมาแล้ว 18 พระองค์

นอกจากนี้ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ยังเป็นที่พักพิงแหล่งสุดท้ายของร่างไร้วิญญาณของบุคคลสำคัญแห่งสหราชอาณาจักร อาทิ  เซอร์ ไอแซค นิวตัน, ชาร์ลส ดิกเค่น, แซมวล จอห์นสัน, อัลเฟรด เทนนีสัน, เฮนรี เพอร์เซ็ล และทหารนิรนามที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นต้น รวมทั้งเป็นที่รวมของสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่สร้างคุณูปการให้ประเทศอย่าง เจน ออสติน, ชาร์ลส์ ดาร์วิน และอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ดํารงตําแหน่งในช่วงสงครามอย่าง วินสตัน เชอร์ชิล

สำหรับเจ้าชายวิลเลียม ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระองค์ทรงมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับมหาวิหารแห่งนี้ เนื่องด้วยเป็นสถานที่จัดพิธีพระศพของเจ้าหญิงไดอาน่า พระมารดาในปี ค.ศ. 1997 หลังจากที่สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่กรุงปารีส
ในขณะเดียวกัน องค์รัชทายาทพระองค์นี้ก็ทรงเลือกที่จะไม่ประกอบพระราชพิธีเสกสมรสที่มหาวิหารเซนต์พอล ที่ซึ่งพระบิดาและพระมารดาของพระองค์ทรงอภิเษกสมรส ราวกับในเทพนิยายเมื่อปี ค.ศ. 1981  

อย่างไรก็ดี มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ก็เคยบันทึกความรักของคู่สมรสซึ่งเป็นสมาชิกราชวงศ์คู่อื่นๆ มาก่อน รวมถึงเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ภายหลังคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2) ซึ่งอภิเษกสมรสกับ ฟิลลิป เม้าท์แบตเทิน (ภายหลังคือเจ้าชายฟิลลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ) ในปี ค.ศ. 1947 และพระราชบิดาและพระราชมารดาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งก็คือ เจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งภายหลังคือพระเจ้าจอร์จที่ 6 กับเอลิซาเบธ บาวส์-ลียง ในปี ค.ศ. 1923

แต่ก็ใช่ว่าสมาชิกราชวงศ์คู่ที่เข้าพิธีอภิเษกสมรสที่มหาวิหารแห่งนี้จะครองคู่กันรอดกันจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรเสมอไป อย่างเจ้าหญิงมากาเร็ต พระขนิษฐาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และลูกๆ ของพระองค์ คือ เจ้าหญิงแอนน์และเจ้าชายแอนดรูว์ก็จบชีวิตคู่ด้วยการหย่าร้าง

ถึงแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์มาตั้งแต่อดีต มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์แห่งนี้ก็ยังคงเปิดต้อนรับบุคคลทั่วไปและผู้มาเยือนจากต่างแดน เป็นทั้งศาสนสถานและแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของกรุงลอนดอน