วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รัฐสภาไทย

รัฐสภาแห่ง ราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการ ปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน ใน ครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถาน ที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51, 027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
• หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
• หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
• หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำ การใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
รัฐสภาไทยเป็นรูปแบบสภาคู่ คือ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา
อาจกล่าว ได้ว่า เมื่อพูดถึงรัฐสภาหมายถึงสภาใหญ่ ที่ประกอบด้วย 2 สภาย่อย คือ สภาผู้แทนฯ กับวุฒิสภา สภาผู้แทนฯ มีสมาชิกรวม 500 คน ส่วนวุฒิสภามีสมาชิก 200 คน

รัฐสภาไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา
(Parliamentary System) ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ (BicameralSystem) คือรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีสมาชิกรวมจำนวนทั้งสิ้น 630 คน

1. โครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
แบ่งนำเสนอโครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
เป็น 2 ส่วน ตามโครงสร้างของรัฐสภา ดังนี้

1.1 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 480 คน ดังนี้

1.2 ประเภทแรก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน400 คน ทั้งนี้ โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตละไม่เกิน 3 คน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือก ตั้งได้เท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้นประเภทที่ สอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน จำนวน 80 คนทั้งนี้ โดยแบ่งเขต เลือกตั้งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด ให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และแต่ละเขตให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 10 คน ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 เสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณากำหนดเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็น 157 เขต ส่วนการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้น แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 8 เขตเลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่ม 11.2 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 150 คน ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก การเลือกตั้ง ดังนี้

ประเภท แรก สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดจังหวัดละ 1 คน ฉะนั้นเมื่อมีจังหวัด 76 จังหวัด จึงมีสมาชิกวุฒิสภาประเภทนี้รวมจำนวน 76 คนประเภทที่สอง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จำนวน 74 คน ทั้งนี้โดยให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวม มาจากการเสนอชื่อขององค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น